กลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่และความสำเร็จทางการตลาด ของผู้ประกอบการอาหาร ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่ 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จทาง การตลาดของผู้ประกอบการอาหาร 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่กับความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบการอาหาร 4) เพื่อทดสอบผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่ต่อความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบการอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 248 ร้านค้า เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้วิธี Enter Method ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จทางการตลาดโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่กับความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบ การอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน การสื่อสารการตลาด การตอบสนองที่รวดเร็ว ความสะดวกในการใช้งาน และ การมุ่งเน้นที่ลูกค้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบการอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่ ด้านการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และด้านการสื่อสารการตลาด ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบการอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสามารถในการพยากรณ์ร้อยละ 45.80 ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2564). ‘ปรับทัพธุรกิจ’ สู่ Food Delivery. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652109.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ “Food Panda Application”. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 153-162.
Grab. (2563). ค้นหาร้านค้า. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.grab.com/th/.
จิดาภา ง่วนเฮงเส็ง และ จิราภรณ์ ขันทอง. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาการได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Journal of Nakhonratchasima College, 12(2), 126-137.
จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2563). ผลกระทบของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม: บทบาทของความสามารถทางการตลาดในฐานะตัวแปรคั่นกลาง. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(4), 1-21.
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล. (2558). การวางแผนธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และ เกศรา สุกเพชร. (2563). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการสนับสนุนของลูกค้าบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศโดยผู้ประกอบการชาวไทย. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(1), 81-97.
ณัฐธิดา เสถียรพันธุ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และใช้บริการโรงภาพยนตร์ลิโด้ คอนเน็คท์ ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ทิพวรรณ วงษ์ทองคำ. (2562). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าจากลาซาด้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 9(2), 1-16.
ธนาคารกรุงเทพ. (2562). เจาะกลยุทธ์สู้ศึกชิงเจ้าตลาด ‘Food Delivery’. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก www.bangkokbanksme.com/en/food-delivery-marketing-strategy.
ธาวินี จันทร์คง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โมบายแอพในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ธิดารัตน์ เผ่าแสนเมือง และ นริศรา สัจจพงษ์. (2565). ผลกระทบของการบริหารการขายที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 56-71.
นิศาชล รัตนมณี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2019). อัตราตอบกลับของแบบสอบถามงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 181- 188.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
เบญจพร สุวรรณแสนทวี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ ในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ปิยธิดา ศรีพล. (2564). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 7(1), 130-142.
Foodpanda. (2563). ค้นหาร้านค้า. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.foodpanda.co.th. มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ. (2561). Food Delivery 4.0. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645861.
มนษิรดา ทองเกิด. (2565). นวัตกรรมการบริการ: กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของธุรกิจบริการ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 114-129.
วศินี อิ่มธรรมพร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยี ความสะดวกในการใช้บริการ และการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย (Gen Y) ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศศิประภา พันธนาเสวี. (2561). กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างสำหรับธุรกิจบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารสไตล์เกาหลีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(1), 11-22.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). อยากกินต้องได้กิน SME ร้านอาหารปรับรับ Food Delivery, K SME Analysis. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/SiteCollectionDocuments/analysis/k-social-media/sme/food%20Delivery/FoodDelivery.pdf.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง…ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรุกไปสู่ Super Application. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3128-Food-Delivery.aspx.
สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2012). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal, 1(1), 1-21.
สุชัญญา สายชนะ และ ชลิตา ศรีนวล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่น QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 156-165.
อิสราวลี เนียมศรี. (2559). การตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น LINE MAN ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
เอกรัตน์ สุวรรณกูล และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2563). การรับรู้ความมุ่งเน้นลูกค้าของพนักงานบริการที่มีอิทธิพลต่อความภักดีที่จริงแท้ ของพนักงานบริการของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 283-301.
Armstrong, J. S., and Overton, T. S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14(3), 396–402.
Barney, J.B. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.
Hair, j. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis A Global Perspective (7th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.