ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จงจิต เค้าสิม
อลงกรณ์ สุขวัน
นุชธิดา โยลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT)  2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 22 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)  ใช้เวลาในการทดลอง 30 คาบๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .28-.72   ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.74 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ .80 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ใช้แบบแผนการทดลองประยุกต์ตามแบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t-test แบบ dependent Samples ในรูป Difference Score


ผลการวิจัยพบว่า  1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ บุญไชโย. (2559). โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ตามหลักการการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ธิดารัตน์ ทวีทรัพย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเทคนิคความผูกพันของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ง. หน้า 12.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 136-154.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 125-139.

ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์. (2556). หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการคิดเชิงวิเคราะห์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563 จาก http://www.entraining.net/in-house _Analytical_Thinking. php.

วรเวทย์พิสิษ ยศศิริ และคณะ (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563. จากhttp://wb.yru.ac.th/handle/yru/1184

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2), 22-40.

ศารทูล อารีวรวิทย์กุล (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย, ศรีนครินทรวิโรฒ).

สาวิตรี เถาว์โท. (2561). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่มในรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 73-85.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุทิพย์ เป้งทอง (2554). การพัฒนาตัวแบบการเรียนการสอนแบบพินส์-เว็บเควสท์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาทักษะทางการคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้า พระนครเหนือ).

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2562). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 24-32.

ไสว ฟักขาว. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561, จาก http://web.chandra.ac.th/blog/wp-content/uploads/2015/10/ทักษะแห่งศตวรรษที่-21-พับ.pdf constructivist-theory. 15 มกราคม 2561.

Bloom et al. (1976). Taxonomy of Education Objectives.Handbook I Cognitive Domain. New York: David Mckay.

Ennis, R. H. (1990). The extent to which critical thinking is subjectspecific Further clarification. Educational Researcher, 19, 13-26.

Hannah, J.S. and Michaelis, J.U. (1977). A Comprehensive Framework for Instructional Objectives; A Guide to Systematic Planning and Evaluation. MA : Addison-Wesley.

Jhonson, D.W.; & Jhonson, F.P. (1994). Joining Together Group Theory and Group Skills. Bostin:Allyn and Bacon.

Joyce, B. R. and Weil, M. (2009). Model of Teaching. (8th ed). New York : Allyn & Bacon.

Marzano, Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. Thousand Oaks, California: Press,Inc.

Slavin, R.E. (1980). Synthesis of research on cooperative learning. Educational leadership, 38(8), 655-660.

Sternberg. Robert J. (1997). Thinking Styles. Cambridge: Cambridge University Press.