อาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ในมิติประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว

Main Article Content

ทรงสุข บุญทาวงค์
นรพรรณ โพธิพฤกษ์
รุ่งรดิศ เมืองลือ
อิสรีย์ ติยะพิพัฒน์
สลิลทิพย์ ตียาภรณ์

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมอาหาร คือ การประดิษฐ์จากความจงใจของมนุษย์เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่เน้นย้ำความแตกต่างจากสังคมอื่น ทั้งรูปลักษณ์อาหาร รูปแบบการรับประทาน ค่านิยมในรสชาติ หรืออื่นใดที่มีรูปแบบเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งวัฒนธรรมอาหารยังมีความสัมพันธ์ต่อระบบสังคมที่สะท้อนผ่านการกำหนดรูปแบบอาหาร การจัดสำรับอาหาร และวิสัยการรับประทาน ตลอดจนการถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมมาทุกยุคสมัย ดังเห็นได้ว่าอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยังคงดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวเชียงใหม่และลื่นไหลไปตามพลวัตหรือกระแสนิยมทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันวัฒนธรรมอาหารยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาหารพื้นเมืองเชียงใหม่จึงมีบทบาทต่อสังคมในมิติประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว


บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอการศึกษาวิเคราะห์บทบาทอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ในการตอบสนองต่อระบบสังคมทั้งในประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนวิทยาทางสังคมศาสตร์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ประเด็นหลัก ได้แก่  1) พื้นฐานวัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่  2) บทบาทอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ 3) อาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ในยุคการท่องเที่ยว และ 4) อาหารพื้นเมืองกับประสบการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์เป็นการตอกย้ำถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทของอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะวัฒนธรรมอาหารในรูปแบบขันโตกที่ได้สะท้อนถึงอำนาจทางสุนทรียศาสตร์มีอิทธิพลต่อการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว ขณะที่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองในคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือยังไม่เป็นที่รับรู้มากนัก จึงควรนำมาส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์อาหารอาหารพื้นเมืองที่หลากหลายเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2561). ฝรั่งในล้านนา. แปลโดย ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

แก้วนวรัฐ, เจ้าหลวง. (2476). พระราชชายาเจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่: ม.ป.ท.

ทรงสุข บุญทาวงค์. (2563). การปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมสำรับอาหารคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่สู่มิติการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพัฒนาการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

ทรงสุข บุญทาวงค์ และ นคเรศ อุดชะยา. (2565). โภชนาการนิยมอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวยุควิถีปรกติใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(1), 120 -133.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2559). สี่ทศวรรษประวัติศาสตร์ล้านนา, วารสารศิลปะและวัฒนธรรมฉบับเชิดชูเกียรติศาสตราจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,1(1), 255-275.

นันทิยา ตันตราสืบ. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีนิพนธ์บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยพะเยา).

เนื่อง นิลรัตน์, หม่อมหลวง. (2539). ชีวิตในวัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.

มนษิรดา ทองเกิด. (2564). นวัตกรรมการบริการ: กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของธุรกิจบริการ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 114 –129.

มหาวิทยาลัยฟาอิสเทิร์น.(2564). วัดป่าแดด. ระบบฐานข้อมูลวัด. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก http://www.templethailand.org

มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ. (2550). บายศรีทูลพระขวัญ. เชียงใหม่: เวียงบัวการพิมพ์.

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2554). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุ เนินหาด. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

Chatkaewnapanon Yuthasak. (2012). A Tourism History of Koh Samui, Thailand: Change and Adaptation in the Tourism Period. LAP LAMBERT Academic Publishing.

Hall, C. M.,Sharples,L., Mitchell,R., Macionis, N., and Cambourne, B. (Eds.). (2003). Food tourism around the world: Development, management and markets Book. Oxford: Butterworth- Heinemann.

Shalini, D. and Duggal, S. (2015). A review on food tourism quality and its associated forms around the world. African Journal of Hospitality, Tourism and leisure, 4 (2) Special edition - (2015).

World Tourism Organization. (2012). Affiliate members global report, volume 4 - global report on food tourism. Madrid, Spain: UNWTO.