ปัญหาการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เบทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ชนิดข้าวนาปีที่ลงทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ One-sample t-test และสถิติ เชิง การทดสอบ F–Test หรือ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับสูง 2) การเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามอายุในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามประสบการณ์ในภาพรวมทั้ง 7 ด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญพื่อศึกษาระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ชนิดข้าวนาปีที่ลงทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 180 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ One-sample t-test และและสถิติเชิงการทดสอบ F–Test หรือ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) การเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามอายุในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามประสบการณ์ในภาพรวมทั้ง 7 ด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฏิ์ ใจปัญญา. (2563). ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวเหนียวสันป่าตอง 1. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 37(1), 10-19.
กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2563). เกษตรอินทรีย์วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน: ยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 116-130. สืบค้นจาก, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/223510/164336.
ชุมพล รอดแจ่ม และ รุ่งระวี มังสิงห์. (2560). รูปแบบการกำหนดต้นทุนในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ กรณีศึกษาบ้านคลองตาชม หมู่ 9 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 11(2), 100-114.
ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). หลักการบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิก.
วริศรา ทรัพย์เกษม และ สุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2560). ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวใน ศูนย์ข้าวชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 48(1), 118-126.
วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส. (2562). คู่มือการทำนา. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564 จาก, http://www.ncc.ac.th/_files_school/00000784/data/00000784_1_20151022-144806.pdf.
วีรนุช วิจิตร ,นิโรจน์ สินณรงค์ , เกศสุดา สิทธิสันติกุล, และ กฤตวิทย์ อัจฉริยะพาณิชกุล. (2562). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรภาคเกษตรและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 10(19), 1-10.
อภิชาติ วรรณวิจิตร. (2564). ไรซ์เบอร์รี่:ต้นแบบการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเชิงเวชกรรม. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564 จาก, http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/research-develop/rice-research-and-knowledge/267-2020-02-04-07-33-25.
Guiyavan, Y. (2009). Business Research Methods. Bangkok: Druid Co., Ltd.