การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

วรรณษา แสนลำ
ศิริพร เลิศยิ่งยศ
สุภาวดี มณีเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำและผู้ประกอบการจำนวน 30 คน และภาคีเครือข่าย 5 หน่วยงาน บ้านด่านชัย ตำบลด่านเกวียน และบ้านหนองโสน ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้แบบเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำรวจภาคสนาม ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ เวทีวิเคราะห์ศักยภาพเวทีพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของชุมชนบนฐานทรัพยากรใน 2 พื้นพบว่า จุดแข็งคือ ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและผลิตภัณฑ์หินทราย ผู้นำมีความเข้มแข็ง จุดอ่อนขาดความรู้ ทักษะเรื่องงานปั้นที่หลากหลายและไม่มีแผนที่ชุมชนบอกเส้นทางในชุมชน โอกาส การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวกับพื้นที่ใกล้เคียงและลูกค้าเปลี่ยนมาซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น และอุปสรรคจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวซื้อสินค้าด้วยตนเองในพื้นที่น้อยลง 2) การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านด่านชัยพบว่า กลยุทธ์เชิงรุกคือ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน กลยุทธ์เชิงแก้ไขคือ ให้ความรู้ด้านให้บริการแก่ลูกค้า กลยุทธ์เชิงป้องกันคือ การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยว กลยุทธ์เชิงรับคือ จัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน สำหรับบ้านหนองโสนพบว่า กลยุทธ์เชิงรุกคือ ผลิตสินค้าให้หลากหลาย กลยุทธ์เชิงแก้ไขคือ จัดหาหน่วยงานในการสร้างภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวในรูปแบบการเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์เชิงป้องกันคือ การจัดอบรมความรู้ด้านการตลาดออนไลน์กับผู้ประกอบการในชุมชนและ กลยุทธ์เชิงรับคือ จัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน งานวิจัยนี้ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นและสามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ที่ทำการปกครองจังหวัดนครราชสีมา. (2564). ข้อมูลพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564 จากhttps://www.amphoe.com/dods/front/base/html/page-info.php?catm=30000000

นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2553). การจัดการเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: วันทิพย์.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2562). ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้งจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 25 (2) กรกฎาคม-ธันวาคม.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติ สำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 329-364.

วันทนีย์ แสนภักดี. (2562). แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกในมุมมองของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 36-49.

วิลาสินี ธนพิทักษ์, วิวัฒน์ ฤทธิมา, ณติกา ไชยานุพงศ์ และ ศิริชัย กุมารจันทร์. (2561). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมฝายมีชีวิตจากภูมิปัญญาชุมชนตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง, วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(2), 28-38.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2564). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม2564 จาก http:// www.cbt-i.or.th/index.php.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และ ธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2552). Foresight Research โดยการสังเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จากผลงานวิจัยสาขาสังคมท้องถิ่น. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อภิชัย ศรีเมือง. (2555). เทคนิควิเคราะห์ธุรกิจอย่างเฉียบคม (สไตล์ผู้บริหารมืออาชีพ). นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด.

อุทัย ดุลยเกษม และ อรศรี งามพิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

David, Fred R. (2011). Strategic Management: Concepts and Cases (13th ed). (Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Suttipisan, S. (2013). Adaptive Uses of Local Textiles for Creative Tourism Product Development in Thailand. International Journal of Cultural and Tourism Research, 6(1), 47- 55.