ผลกระทบของความผันผวนกระแสเงินสดและความผันผวนกำไรสุทธิ ต่อมูลค่ากิจการบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พิมพ์ผกา ใจมุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของความผันผวนของกระแสเงินสดที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของ ความผันผวนของกำไรสุทธิที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของความผันผวนของกระแสเงินสด และความผันผวนของกำไรสุทธิที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2) กลุ่มทรัพยากร 3) กลุ่มเทคโนโลยี 4) กลุ่มบริการ 5) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม   6) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 7) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง รวมจำนวนทั้งสิ้น 343 บริษัท 686 ข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2560–2561 การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์  การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่าความผันผวนของกระแสเงินสด และความผันผวนของกำไรสุทธิมีผลกระทบ เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้นผลกระทบความผันผวนของกระแสเงินสด และความผันผวนของกำไรสุทธิมีความผันผวนสูงสะท้อนต่อมูลค่ากิจการสูงย่อมส่งผลถึงการเติบโตของกิจการในอนาคต ทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในกิจการที่มีมูลค่ากิจการที่สูง และความผันผวนของกำไรเป็นส่วนหนึ่งของความผันผวนของกระแสเงินสด และกลายเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่ากิจการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาวีร์ ทิพย์ธนะกาญจน์. (2559). ความผันผวนของกระแสเงินสดความผันผวนการดำเนินงานต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. (การค้นคว้าอิสระปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฐชา วัฒนวิไล. (2554). มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added: EVATM) KPI ที่บ่งชี้ผลงานได้อย่างเหมาะสม. วารสารนักบริหาร. 31(3), 164-170.

ณัฐวรรธน์ มาเพิ่มผล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html

ปราณญาดา สถาปนรัตน์กุล และประยูร โตสงวน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรที่มีต่อราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ”สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. นครราชสีมา. วิทยาลัยนครราชสีมา.

ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ และสุรีย์ โบษกรนัฏ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านบุคคล ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบกับความเสี่ยงการรายงานทางการเงิน:กรณีศึกษาจากผู้ตรวจสอบภาครัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ,36(1),30-57.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความสามารถในการทำกำไรและราคาตลาดของหลักทรัพย์ของกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2),16-25.

ยุวดี วงค์แวงน้อย. (2563).ผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง.วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์, 7(7), 105-119.

วรภพ เสือพลาย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับมูลค่าบริษัท. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2548). มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ: มิติใหม่ของการสร้างมูลค่ากิจการและการสร้างผลตอบแทนพนักงาน. กรุงเพทฯ: ธรรมนิติเพรส.

วาสนา แก้วคำ. (2562). การศึกษาผลกระทบของความผันผวนของกระแสเงินสดและผลกำไรต่อมูลค่าบริษัท โดยวัดจากอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). “ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผู้ถือหุ้นกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ”.วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10), 26-39.

สหราช จันหอม. (2558). ผลกระทบของขนาดคุณลักษณะและความรับผิดชอบชอบของคณะกรรมการต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อัญญา ขันธวิทย์, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และเดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Al-Harbi, A. D. (2003). Do investors attach higher valuation weights to cash flow-based measures than to accrual-based measures in valuing intangible-intensive, high-technology stocks?. Florida: Florida Atlantic University.

Allen, P. W. (2000). Assessing the usefulness of an opinion leadership scale to the diffusion of new accounting services. Journal of Professional Services Marketing, 21(2), 149-149.

Alshimmiri, T. (2004). Board composition, executive remuneration and corporate performance: the case of REITS.Corporate Ownership and Control,2(1), 104-118.

Baker, C. R. and Barbu, E. M. (2007). Trends in research on international accounting harmonization. The International Journal of Accounting, 42(3), 272-304.

Borhan, H., Mohamed, R. N. and Azmi, N. (2014). The impact of financial ratios on the financial performance of a chemical company. World Journal of Entrepreneurship. Management and Sustainable Development, 10(2), 154-160.

Brealey, R. A.(2000). Firm valuation and accounting numbers. Estudos de Gestão,(2), 111-126.

Cohen, D. A., and Lys, T. Z. (2006). Weighing the evidence on the relation between external corporate financing activities, accruals and stock returns. Journal of accounting and economics, 42(1-2), 87-105.

Daraghma, A. M. (2013). Computer visualization for improving user participation in the early stage of architectural design process. Doctoral dissertation. Cyberjaya Malaysia: Multimedia University.

Fama, E. F., and French, K. R. (1995). Size and book‐to‐market factors in earnings and returns. The journal of finance, 50(1), 131-155.

Francis, J., Olsson, P. and Schipper, K. (2008). Earnings quality. Fundamental and Trend in Accounti20ng, 1(4), 259–340.

Froot, K., Scharfstein, D. and Stein, J. (1993). Risk Management: Coordinating Corporate Investment and Financing Policies. Journal of Finance, 48, 1624–1658.

Galogah, A. S., Pouraghajan, A. and Makrani, K. F. (2013). The Investigation of Relationship between Free Cash Flows and Stock Return: Evidence from Tehran Stock Exchange. World of Sciences Journal, 1(12), 62-69.

Hunt, A., Moyer, S. and Shevlin, T. (2000). Earnings volatility, earnings management, and equity value. Unpublished working paper. Washington: University of Washington.

John R. Graham and Clifford W. Smith, Jr. (1999). Tax Incentives to Hedge. Journal of Finance, 54, 2241-2262.

Kanagaretnam, K., Mathieu, R. and Shehata, M. (2009). Usefulness of comprehensive income reporting in Canada. Journal of Accounting and Public Policy, 28(4), 349-365.

Pástor, L. and Stambaugh, R. F. (2003). Liquidity risk and expected stock returns. Journal of Political economy, 111(3), 642-685.

Pham, P. K., Suchard, J. A. and Zein, J. (2011). Corporate governance and alternative performance measures: evidence from Australian firms. Australian Journal of Management, 36(3), 371-386.

Rountree, B., Weston, J. P. and Allayannis, G. (2008). Do investors value smooth performance?. Journal of Financial Economics, 90(3), 237-251.

Schipper, K. and Vincent, L. (2003). Earnings quality. Accounting horizons, 17, 97-110.