การพัฒนาทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Main Article Content

เลไล ภาพันธ์
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของนักเรียนระดับ เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชันปีที่ 2  ด้านการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิกก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชันปีที่ 2 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาไทยเทคอีสาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก จำนวน 4 แผน จำนวน 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะปฏิบัติโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นทางการเรียนโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและผลทดสอบ ที


          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบการวัดความสามารถทักษะปฏิบัติของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพชันปีที่ 2 เรื่อง การตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.82 และ 20.44 คะแนน ตามลำดับโดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิก ก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.31 และ 22.73 ตามลำดับโดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องการตัดต่อและตกแต่งภาพกราฟิกโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย โดยภาพว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.33

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

เกศแก้ว เพ็งวงษ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ของ นักศึกษา ปวส 2/1 โดยใช้ หลักการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดําเนิน.

ทิศนา แขมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติพงษ์ หน้องมา. (2557). ผลของการใช้วิธีสอนแบบใช้สื่อมัลติมีเดียกับวิธีสอนปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้น ปวช.1 แผนกช่างยนต์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

ผจญ รุ่งอรุณเลิศ. (2551). ผลการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนละแมวิทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคโนโลยีการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วาวรินทร์ พงษ์พัฒน์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ศรัณย์ วรรณศิริ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เอกภพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สนธยา กวนสาโรง,ศักดิ์ สุวรรณฉาย และชาตรี เกิดธรรม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).

สุพรรษา ครุฑเงิน. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องข้อมูลและสารสนเทศสำหรับนักเรียนนักศึกษาปีที่ 1.. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา, ,หาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I : Cognitive Domain. New York : David Mckay.