ผลกระทบของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ผกามาศ บุตรสาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบผลกระทบของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อทดสอบผลกระทบของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อทดสอบผลกระทบของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกับคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 172 คน โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างได้มาจากจำนวนนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งละ 1 คน จากจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป จำนวน 253 คน และตอบกลับมา จำนวน 172 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


        ผลการวิจัยพบว่า 1) นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีด้านความเที่ยงธรรม และด้านการรักษาความลับอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความรู้ความสามารถ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านความโปร่งใสอยู่ในระดับมาก 2) นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความทันต่อเวลา ด้านความมีคุณภาพ ด้านความสำเร็จของงาน และด้านปริมาณงานอยู่ในระดับมาก 3) นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเชื่อถือได้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเข้าใจได้ ด้านความสามารถเปรียบเทียบได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมอยู่ในระดับมาก 4) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านความเที่ยงธรรมมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ 5) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านความเที่ยงธรรม ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านการรักษาความลับ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและคุณภาพรายงานทาง การเงินอย่างมีนัยสำคัญ และ 6) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านความสำเร็จของงานและด้านปริมาณงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). รายชื่อสำนักงานบัญชี. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th/index.php.

จิราพรรณ แซ่ซี. (2562). ความสัมพันธ์จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

ทัดดาว สิทธิรักษ์. (2557). ผลกระทบศักยภาพของนักบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน กรณีศึกษาเชิงประจักษ์นักบัญชีในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ทิพย์อนงค์ ฟั้นเอ้ย และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2560). อิทธิพลของจรรยาบรรณวิชาชีพต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนายทหารบัญชีในสังกัดกองทัพบก. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEUNI). (21 กรกฎาคม 2560). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ และ อารยะรัตน์ ชารีแสน. (2563). อิทธิพลของความรู้ความสามารถด้านวัตกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(1), 51-63.

ปภัชญา ผิวอ่อน และ ดิษยาภา เนียมถนอม. (2562). แนวทางการปฏิบัติตามจรรยาบรรณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(1), 83-96.

ลลิตา พิมทา และบุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2562). ผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 119-141.

วิชชาภรณ์ เลิศสุบินรักษ์, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และพลอยชมพู กิตติกุลโชติวุฒิ. (2562). ผลกระทบของความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการประปาส่วนภูมิภาค เขต 8. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 162-174.

สิริพร กรรณศร และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2564). คุณค่าทางวิชาชีพและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 1-18.

สุพัตรา รักการศิลป์ เอมอร แสวงวดรตม์ และผกามาศ บุตรสาลี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 20(1), 237-257.

เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

อมร โททำ. (2562). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของบริษัทจํากัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 85-99.

อรรถพร ตันพิพัฒน์อารีย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

อรอุมา สุวรรณ. (2561). ปัจจัยความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพงบการเงินของรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs ) ในภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Aaker, D.A., V. Kumar., and G.S. Day. (2012). Marketing research (11thed). New York : John Wiley & Sons.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7thed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in theAssessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.