ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชา การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับ ครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์

Main Article Content

พรพิมล ชูสอน
สมหวัง นิลพันธ์
นวภา วงษ์อินตา
พูลผล ชาญวิรัตน์
อารีย์ พาวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ของTQF  คุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 และ ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินมาตรฐานการเรียนรู้แบบประเมินคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดสร้างความรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการเรียนที่เรียนด้วยชุดสร้างความรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาของนักศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 82.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 5.93 และ จำนวนนักศึกษาร้อยละ 95.00 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ผลการประเมินมาตรฐานการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นส่วนใหญ่เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำดังนี้  ทักษะทางปัญญา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านวิทยาการจัดการเรียนรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและด้านความรู้  สำหรับผลการประเมินคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะตามศตวรรษที่ 21 ในการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นนักศึกษาต่อชุดสร้างความรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ  ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้  ลักษณะรูปแบบชุดสร้างความรู้ และลักษณะของเนื้อหา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุณี ชามาตย์ (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บังอร ดวงอัน (2555). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ เรื่อง ชีวิตพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ. วารสารศึกษาศาสตร ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(4) ,50-60.

พรพิมล ชูสอน และ ศิราวรรณ ภูงามดี. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(2), 61-72.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th

รุ่งลาวัลย์ จันทรรวงทอง. (2548). ผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เรื่ององค์ประกอบศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). Literacy ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/view/Newseducation/3081

สุภัทร จีนปรุ. (2546). ผลของการเรียนรู้จากสื่อบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ในวิชาสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุมาลี ชัยเจริญ. (2545). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา:หลักการทฤษฎี สู่ปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุมาลี ชัยเจริญ อิศรา ก้านจักร และสุชาติ วัฒนชัย. (2550). การคิดเชิงเหตุผลของผู้เรียนที่เรียนด้วย นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิดของทรัพยากรมนุษย์. วารสารเทคโนโลยีทางปัญญา, 2(1), 37-48.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.

อารีย์ พาวัฒนา พรพิมล ชูสอน และสมหวัง นิลพันธ์.(2564). การศึกษาการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 301–316.

Piaget, J. (1952). The origins of intelligence in children. United States: International Universities Press, Inc.