ความต้องการจำเป็นการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

Main Article Content

ธนาเดช เขียวแก้ว
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประชากร ผู้บริหาร 172 คน ครู 1,272 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 1,518 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 352 คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Taro Yamane (Yamane 1973) ที่ใช้ระดับเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random sampling) เครื่องมือของการวิจัย ครั้งนี้มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนเกณฑ์ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่า IOC 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบัน 0.969 ค่าความเชื่อมั่นสภาพพึงประสงค์ 0.969 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า


  1. ผลการวิจัยสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

        2. ส่วนความต้องการจำเป็น (PNIModified) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2) ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 4) ด้านการการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ 5) ด้านการประเมินผลและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) ด้านการติดตามและการดำเนินการ และ 7) ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2561). หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ

ณัฏฐ์ ภัทรยศพงศ์, วิเชียร รู้ยืนยง (2563). กลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและภาวะผู้นำทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

วัชรินทร์ ภุมิภาค, บุญชม ศรีสะอาด. (2563). การพัฒนาแนวทางดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาคทรรศน์. 7(6), 281-294.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.

สุวิทย์ จันทร์เสถียร. (2554).การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ:กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยปูนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุลัยพร หินชุย, นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

Shadid, W., Prins, W. & Nas, P.J.M.. (1982). Access and Participation: A Theoretical Approach in Participation of the Poor the Development. Leiden: University of Leiden.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rdEd). New York: Harper and Row Publications.