สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อุดม ลิ้มไพบูลย์
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 32 คน ครู 187 คน รวม 219 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโรยามาเน่  ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC 0.970 ค่าความเชื่อมั่น 0.986 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified


      ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านงานสื่อการเรียนการสอนสู่ความปกติใหม่   2) ด้านการบริหารแผนกวิชาสู่ความปกติใหม่ 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสู่ความปกติใหม่ 4) ด้านงานวิทยบริการและห้องสมุดสู่ความปกติใหม่ 5) ด้านงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความปกติใหม่ และ6) ด้านการวัดและประเมินผลสู่ความปกติใหม่

  3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สรุปได้ 6 แนวทาง 26 ตัวชี้วัดประกอบด้วย 1) ด้านงานสื่อการเรียนการสอนสู่   ความปกติใหม่ ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น มี 3 ตัวชี้วัด 2) ด้านการบริหารแผนกวิชาสู่  ความปกติใหม่ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น มี  6 ตัวชี้วัด 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสู่ความปกติใหม่ ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น มี  5 ตัวชี้วัด 4) ด้านงานวิทยบริการและห้องสมุดสู่ความปกติใหม่ มี 3 ตัวชี้วัด 5) ด้านงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความปกติใหม่ มี 4 ตัวชี้วัด  6) ด้านการวัดและประเมินผลสู่ความปกติใหม่ มี 5 ตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795.

วรรณกานต์ เชื้อสายใจ. (2563). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารงานวิชาการในยุคความปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน กลุ่ม เครือข่ายเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก http://edu.crru.ac.th/articles/031.pdf.

ศิรินภา วรรณสินธ์. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2562) รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษาระดับชั้น ปวช.ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.niets.or.th

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษาระดับชั้น ปวช.ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.niets.or.th

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2563). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory analysis (3rd ed). New York: Harper And Row Publication.