การศึกษาศักยภาพการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

นคเรศ อุดชะยา
สุรัชนี ยลธะศาสตร์

บทคัดย่อ

          บทความนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาศักยภาพการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ เพื่อส่งเสริม   การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ จังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ ของจังหวัดเชียงราย โดยใช้กระบวนวิธีการวิจัย (Research Methodology) ทางสังคมศาสตร์ด้วยวิธีการแบบผสมผสาน (Mix Method) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 286 ชุด และทำการลงพื้นที่สังเกตการณ์พร้อมเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (key informant) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการและตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง


          ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างประชากรส่วนใหญ่มีความพึงพอในระดับมากทั้งด้านศักยภาพของการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดสถานที่ ด้านการให้สัมผัสถึงวัฒนธรรมแบบไทยสับปายะ ด้านสุขอนามัยในสถานที่ให้บริการ ด้านอัตลักษณ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมล้านนา ด้านนวัตกรรมการให้บริการสปาล้านนา ด้านประสบการณ์ของผู้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2) แนวทางการพัฒนาการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ ของจังหวัดเชียงราย ควรประกอบด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การมีระบบหรือกลไกรักษาอนามัยโดยรวม การนำเสนอองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างการรับรู้ในภูมิปัญญาและสรรพคุณที่ใช้ การตกแต่งสถานที่ให้มีความกลมกลืนกับบริบทสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความหลากหลายของกิจกรรมสปาล้านนาเพื่อสร้างทางเลือก และการมีมาตรฐานกำกับที่ชัดเจน ทั้งนี้ภาครัฐควรมีกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการในระดับชุมชนเพื่อตอกย้ำอัตลักษณ์พื้นที่ใน ทุกระดับ อันเป็นการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมการพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ทั้ง  เชิงพาณิชย์และสังคมวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงรายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2551). ตำราวิชาการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). สปาล้านนา” ยกระดับหนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/908686

จุตาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ, อรัญ วานิชกร และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). ศักยภาพอัตลักษณ์ความเป็นไทยของธุรกิจสปาและการนวดแผนไทยเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล. วารสาร ปัญญาภิวัฒน์, 10(2). 1-16.

นำขวัญ วงศ์ประทุม และ ดวงศิริ ภูมิวิชชุเวช. (2564).รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนตามศาสตร์พระราชา. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(2). 299-311.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ใน กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2558). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาล้านนาในธุรกิจสปาในภาคเหนือตอนบน. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติจริยธรรมในทวีปเอเชีย ครั้งที่ 1 ชีวิต พลัง และจริยธรรม วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาณุวัฒน์ กิจเกษาเจริญ และ พสชนันท์ บุญช่วย.(2561). การพัฒนาศักยภาพการตลาดและความต้องการสมุนไพรไทยของธุรกิจสปา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ลลิตา ธีระสิริ. (2563). ความร้อนบำบัด ภูมิปัญญาจากชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563, จาก https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1749

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2561). องค์ความรู้ “ตอกเส้น”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563, จาก https://www.hiso.or.th/hiso5/healthy

Arrun Boonchai & Jinna Tansaraviput. (2003). Health Tourism: New Selling Point of Thai Tourism. Economic and Social Journal: NESDC, 40(5), 22–27.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2008). Marketing: An introduction. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice – Hall.