การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม

Main Article Content

วิรัช ชินพลอย
นิรุต ถึงนาค
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 3) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมเชื่อมประกอบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จำนวน 30 คน กลุ่มที่ใช้ประเมินผลการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 3 แผนกช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ สถาบันอาชีวะศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมที่มีต่อการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิค GPRE Model โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม (Guarded : G) ขั้นตอนที่ 2 มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย (Participate :P) ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนมโนทัศน์ (Repeat : R) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอ (Exhibit :E)   ที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 83.33/89.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) หลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิค GPRE Model นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมมีมโนทัศน์ทางการสอนเท่ากับ 81.56/90.07 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่าง อุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิค GPRE Model กับนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง นักเรียนมีมโนทัศน์เพิ่มขึ้นเท่ากับ 85.73/91.40 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร พรหมสุวรรณ และ อริยพร คุโรดะ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(3), 1079.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. (2556). การพัฒนากรอบการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะครูอาชีวศึกษา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เจตินาร์ สายนุ้ย และ อัมพร วัจนะ. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 229-243.

ชัชรินทร์ ชวนวัน. (2552). รูปแบบสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2563). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทย. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2563, จาก https://tdri.or.th/2016/08/vocational-education-reform/

ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 205-218.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นโยบาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ในระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 - 2569). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Kruse, K. (2008). Instruction to Instruction Design and ADDIE Model. Retrieved June 19, 2008, from http:// www.e-learningguru.com/artcles/art_1.htm.

Spencer, L.M., and Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: Wiley & Sons.