การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก กรณีศึกษาสถาบันการเงินของรัฐ

Main Article Content

ธีระพงศ์ มลิวัลย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อประเมินผลระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐ ที่เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของสถาบันการเงินของรัฐ และ 2) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง/พัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสของสถาบันการเงินของรัฐโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยผู้วิจัยได้กำหนดจำนวนโดยใช้ตาราง Taro Yamane ขนาดประชากรไม่จำกัด ระดับความคลาดเคลื่อน +-2% ได้จำนวนประชากรไม่ต่ำกว่า 2,500 ราย ซึ่งก็คือ ผู้ที่ใช้บริการด้านต่าง ๆ ของสถาบันการเงินของรัฐทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นการให้ผู้ตอบแบบสอบถามผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ Google Form สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแบบสอบถามดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เมื่อทดสอบค่า IOC พบว่ามีคะแนน IOC > 0.5 ทุกข้อ


          ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐ ที่เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐฯ พบว่า อยู่ในระดับ AA (ระดับดีเยี่ยม)  ผู้ใช้บริการสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาปริญญาตรี โดยติดต่อกับสถาบันการเงินของรัฐในฐานะบุคคลทั่วไป ซึ่งระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐที่เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐฯ พบว่าตัวชี้วัดที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพการดำเนินงาน ด้านประสิทธิภาพการสื่อสาร และด้านการปรับปรุงการทำงานตามลำดับ เพราะผู้ใช้บริการสถาบันการเงินของรัฐ มีความต้องการที่จะให้สถาบันการเงินของรัฐมีการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ประกอบกับมีความใส่ใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมยอมรับฟังความคิดเห็นโดยคำนึงถึงลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) รู้จักปรับใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีให้ทันสมัย รวมทั้งต้องมีการวางแผน วิเคราะห์การบริหารจัดการ มีขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมมีการจัดการข้อร้องเรียน หรือตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ.2561-2580) และยกระดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption Perception index : CPI) ของประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โชคดี นพวรรณ. (2565). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐกับการป้องกันคอร์รัปชันรูปแบบต่างๆ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 31(1), 157-189.

ธีรพงศ์ บุญญรัตน์, รุ่งนภา กิตติลาภ และ รัชดา ภักดียิ่ง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2),107-117.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 100ก. หน้า 1.

พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551. (2551,23 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่125 ตอนที่ 21ก. หน้า1.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2557).คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ 2558.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). ถอดบทเรียนในการรับมือกับ COVID-19 ของส่วนราชการและจังหวัด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2565, จาก https://www.opdc.go.th/content/NzM4OA. 26 เมษายน 2565.

สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). คู่มือการประเมิน ITA 2565 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ Integrity and Transparency Assessment. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

Ferranti et al. (2009). How to Improve Governance: A New Framework for Analysis and Action.Washington. Washington, D.C: Brookings Institution.

Oliver, R. W. (2004). What is Transparency?. New York: The McGraw-Hill.

Transparency International Organization. (2021). Corruption perceptions index 2015. Retrieved July 22, 2021 from Http://www.transparency.org/cpi2021#downloads.