ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณา ในประเทศไทย

Main Article Content

สุมาลี ปาปะโม
ฉายรุ่ง ไชยกำบัง
เสาวลักษณ์ จิตติมงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลของธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลกับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย 4) เพื่อทดสอบผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลกับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสูงสุดของธุรกิจสื่อโฆษณา ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำนวน 375 ราย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้วิธี Enter Method ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารสูงสุดของธุรกิจสื่อโฆษณาที่จดทะเบียนนิติบุคคลมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.16) และมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จของธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.19) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลของธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทยกับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพหุคูณ พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ตั้งแต่ 0.683 - 0.818 ผลการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย พบว่า มีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ศักยภาพด้านดิจิทัลของบุคลากร การใช้ทรัพยากรดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและด้านการมุ่งเน้นความคิดดิจิทัลส่งผลกระทบในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนมิถุนายน 2564 (ธุรกิจโฆษณา). สืบค้นเมื่อ 4กันยายน 2564, จาก ttps://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_202106.pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ปี 2565 เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation 2.0. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565 จาก https:// www.bangkokbiznews.com/columnist/980464

กัณฑ์ฏภัทร์ ศุภะกุลสวัสดิ. (2564). วัฒนธรรมองค์การกับความเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 388 - 401.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2564). ปัจจัยเหตุและผลของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการของประเทศไทย, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, 234 – 555. สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จันทร์จิรา เหลาราช. (2564). การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและผลกระทบต่อองค์กร. มนุษยศาสตร์สาร, 22(1), 227-240.

ชัยธัช เพราะสุนทร. (2561) ผลกระทบของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต่อธุรกิจสิ่งพิมพ์ : กรณีศึกษาธุรกิจสิ่งพิมพ์ขนาดกลาง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ธัญรดี หิรัญกิตติกร. (2565). ความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12( 3), 266 – 278.

นันท์นิธิ พงศ์โพธิธรรม. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ดสู่การเป็นนวัตกรผู้ประกอบการสาธารณะในยุคไทยแลนด์ 4.0 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 12(1), 93 – 110.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มานะ ไชยโชติ. (2564). ภาวะผู้นำแบบดิจิทัล วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิผลโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18 (1), 624 – 630.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของธุรกิจทางการเงินเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9( 2), 1-17.

วัสสาน์ วิเศษโกสิน. (2565). กลยุทธ์การตลาดแบบส่งอาหารถึงที่และความสำเร็จทางการตลาดของผู้ประกอบการในพื้นที่กาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 70 - 88.

เศรศฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). องค์กรดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564, จาก http://www.nbtc.go.th

สนธยา แสงส่อง, ทวี แจ่มจำรัส และ รุ่งรัตนา เจริญจิตต. (2563). บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (8), 211-226.

สายพิณ ปั้นทอง. (2563). กลยุทธ์การจัดการรูปแบบการทำงานเพื่อการพัฒนาสู่องค์กรยุคใหม่, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จังหวัดนครปฐม 9-10 กรกฎาคม 2563.นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (1), 38 - 50.

อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ ขอนแก่นการพิมพ์.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.