รูปแบบการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ชูพงษ์ พันธุ์แดง
ธีนิดา บัณฑรวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์    เชิงสาเหตุการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาปัจจัย เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 384 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและใช้โมเดลสมการโครงสร้างวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่  1) ระบบสารสนเทศ  2) ส่วนประสมทางการตลาดบริการ  3) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และ 4) คุณภาพการให้บริการ ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่า Chi-square=85.230, df=100, p=0.854, CMIN/DF=0.852, GFI=0.976, AGFI=0.964, CFI=1.000, RMR=0.024 และ RMSEA=0.000 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระบบสารสนเทศส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ เพื่อการพัฒนาโมเดลรูปแบบการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้เป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนพัฒนาปัจจัยสำคัญในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs เพื่อนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง. กรุงเทพมหานคร: หุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

นิตยา ไหวดี, ชูพงษ์ พันธุ์แดง และ นภัสวรรณ ดาทุมมา. (2564) องค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 98-112.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). สถิติประยุกต์สำหรับนักวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565a) . บทบาทการส่งเสริมธุรกิจ SMEs สู่ยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod _download/download-20200108090926.PDF

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565b). สถิติการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiMDIzNj

Y1OWEtYmM4MC00Njk5LWEyMzktZjhjNDYxNjM4YzU3IiwidCI6ImExZmZjMjhhLTEzZmM

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Abdul, K. M., Jayakrishnan, M. and Mokhtar, M. Y. (2022). Thriving information system through business intelligence knowledge management excellence framework. International Journal of Electrical and Computer Engineering; Yogyakarta, 12(1). 506-514.

Gandhi, S.M., Sachdeva, A., and Gupta, A. (2018). Service Quality Models: A Critical Analysis About Their Relevance to Supply Chains of Small-Medium Manufacturing Units. IUP Journal of Supply Chain Management, 15(1), 7-39.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14thed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W., 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 608-610.

Kumar, G.S., Sachdeva, A., and Gupt, A. (2018). Measuring Supplier Service Quality in Indian SMEs using Factor Analysis and Graph-Theoretic Approach. Jurnal Teknik Industri, 20(1), 11-24.

Mohamed Aboelmaged. (2018). The drivers of sustainable manufacturing practices in Egyptian SMEs and their impact on competitive capabilities: A PLS-SEM model. Journal of Cleaner Production, 175, 207-221.

Njuguna, R.K., and Mirug, S. (2017). The Effectiveness of Relationship Management and Service Quality on Service Delivery. International Journal of Sales, Retailing & Marketing, 6(2), 52-59.

Padilla, N., and Ascarza, E. (2021). Overcoming the Cold Start Problem of Customer Relationship Management Using a Probabilistic Machine Learning Approach. Journal of Marketing Research (JMR), 58(5), 981-1006.

Pena, C.M., and Anias, C.C. (2020). Integration of frames of reference for information technology management. Ingenieria Industrial, 41(1), 1-12.

Setiawan, P., Hossain, B., Rahmawati, W., Susilo, B. W., and Lorant, D. D. (2022). Webinar among Indonesian academics during Covid-19, embracing the audiences. PLOS One; San Francisco, 17(3), (Mar 2022): e0265257.

Shein, E. (2019). Hyper Convergence Hits Highbred: How this infrastructure simplifies IT, improves performance and saves resources. University Business, 22(2), 27-32.

Yong, K.C., Woo, H.H., and Sang. B.K. (2018). A Study on the Effects of Consulting Service Quality and Participation on the Effect of Consulting Expertise on Business Performance. Journal of Digital Convergence, 16(4), 117-126.