ผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนที่มีต่อความสามารถ ในการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีขอบเขตการศึกษาจำกัดเฉพาะปี พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 67 บริษัท รวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี ฐานข้อมูล SETSMART ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) รายงานประจำปี รายงานความยั่งยืนของบริษัท คู่มือการแสดงข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืน ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) สำหรับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) การเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนมิติสิ่งแวดล้อม และประเภทของสำนักงานสอบบัญชีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 2) การเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนมิติสิ่งแวดล้อม และประเภทของสำนักงานสอบบัญชีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) 3) การเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรด้านอัตราส่วนกําไรขั้นต้น (GPM) และ 4) การเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการความยั่งยืนมิติสิ่งแวดล้อม ประเภทของสำนักงานสอบบัญชี และสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตราส่วนกําไรสุทธิ (NPM) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรัญญา ตาวงษ์, และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2565). ผลกระทบของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 159-171.
โฆษิตา เปสตันยี และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2561). ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 43-55.
ฐิตารีย์ สินจรูญศักดิ์. (2554). การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์), 1 (2), 38-47.
ฑริยา พงษ์พันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและบรรษัทภิบาลขององค์กรกับผลประกอบการทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจพลังงานที่อยู่ในดัชนี SET 50. (สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). การส่งเสริม ESG สำหรับ บริษัทจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 20มิถุนายน 2565, https://www.setsustainability.com/page/thsi-thailand-sustainability-investment.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). คู่มือการรายงานความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน_กลุ่มเกษตรละอุตสาหกรรมอาหาร. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565, https://www.setsustainability.com/ libraries/1123/item/-esg-metrics
ปิยะดา เนตรสุวรรณ, มนทิพย์ ตั้งเอกจิต, และภูริทัต อินยา. (2565). การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 39(1), 1-26.
วิภาดา ภาโนมัย, และ นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2559). โครงสร้างคณะกรรมการบริหารกับผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 5 (2), 44-55.
วิยะดา ปิ่นแก้ว, และ จิรพงษ์ จันทร์งาม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและลักษณะเฉพาะของกิจการส่งผลต่อความสามารถในการจัดการกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2). 155-170
สถาบันไทยพัฒน์. (2565). แนวทางการเปิดเผยข้อมูล ESG ตามแบบ 56-1 (ใหม่). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, https://www.thaicsr.com/2020/09/esg-56-1.html
สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9 (2), 109-125.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2560). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alareeni, B. A., and Hamdan, A. (2020). ESG impact on performance of US S&P 500-listed firms. Corporate Governance. The International Journal of Effective Board Performance, 20(7), 1409–1428. https://doi.org/10.1108/CG-06-2020-0258
Ellili, N. O. D. (2022). Impact of ESG disclosure and financial reporting quality on investment efficiency. Corporate Governance. The International Journal of Effective Board Performance, 22(5), 1094–1111. https://doi.org/10.1108/CG-06-2021-0209
Gholami, A., Sands, J., and Shams, S. (2022). The Impact of Corporate ESG Performance Disclosure across Australian Industries. Australasian Business, Accounting and Finance Journal, 16(4), 180–200. https://doi.org/10.14453/aabfj.v16i4.10
Kumar, P., and Firoz, M. (2022). Does Accounting-based Financial Performance Value Environmental, Social and Governance (ESG) Disclosures? A detailed note on a corporate sustainability perspective. Australasian Accounting Business & Finance Journal, 16(1), 41–72. https://doi.org/10.14453/aabfj.v16i1.4