การส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ภาษาไทยในยุคโควิด-19 โดยใช้แพลตฟอร์ม EDULEARN
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ในการจัดเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีการออกแบบตามแนวของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ภายใต้รูปแบบแพลตฟอร์ม“EDULEARN” ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ ปัญหา/ภารกิจ แหล่งการเรียนรู้ ฐานความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ คือ ความคิดคล่อง (Fluency) หาคำตอบได้เร็วมีปริมาณมาก คิดแต่งประโยคอย่างรวดเร็ว คิดหาถ้อยคำที่คล้ายกัน มาใช้แทนกันได้ ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) คิดหาคำตอบได้หลายวิธี หลายแนวทางปฏิบัติและสามารถดัดแปลงแนวปฏิบัติไปแก้ปัญหาใหม่ได้ ความคิดริเริ่ม (Originality) มีความคิดที่แปลกใหม่ สามารถจินตนาการและนำรูปจากจินตนาการมาใช้เขียนประโยคได้แตกต่างไปจากเดิม ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) มีความใส่ใจในรายละเอียด รู้จักใช้คำที่สละสลวยมาเพิ่มเติมในประโยคให้สมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น การเขียนข้อความ เรื่องราวต่าง ๆ จะคิดและเขียนโดยอยู่บนพื้นฐานของการกระทำในทางที่ดีซึ่งแสดงถึงการมีจิตใจที่ดีด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มนชญา สระบัว. (2562). การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม :เรือนอีสาน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 103-110.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: แอนนาออฟเซต.
สุวิทย์ มูลคำ. (2551). ครบเครื่องเรื่องการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์