การศึกษาโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (Tik Tok) ที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้งานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กชพร สว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการโฆษณาผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือโดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ แบบถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า การโฆษณาผ่านแอปพลิเคชัน TikTok มีอิทธิพลทางตรงและมีความสัมพันธ์ในทิศทางที่เป็นบวกต่อแรงกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า (β = 85.4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเมื่อทำการทดสอบความมีอิทธิพลของการโฆษณาผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ที่มีต่อแรงกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นรายด้าน พบว่า การโฆษณารูปแบบการสร้างแรงจูงใจ มีอิทธิพลต่อแรงกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้าสูงที่สุด (β = 81.5) รองลงมาคือ การโฆษณารูปแบบการสร้างความภูมิใจ (β = 74.6) การโฆษณารูปแบบการสร้างความทรงจำ (β = 70.1) การโฆษณารูปแบบการสร้างความเข้าใจ (β = 66.7) และด้านที่มีอิทธิพลน้อยสุดคือ การโฆษณารูปแบบการสร้างแรงกระตุ้น (β = 66.5)              

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชฎารัฐ ขวัญนาค และ ศรายุทธ อินตะนัย. (2566). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี และการรับรู้คุณค่าของเว็บไซต์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 89-103.

ชนนิกานต์ มุกดาแสงสว่าง. (2564). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ชัชวาลย์ หลิวเจริญ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล, วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(29), 56-71.

ชัยนันท์ ธันวารชร. (2560). การโฆษณาสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา ร้าน ฟาร์ม ดีไซน์ไทยแลนด์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์ และ ปฐมา สตะเวทิน. (2563). อิทธิพลของการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินสตาแกรม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(1), 27-38.

ตงเหมย ฟาง. (2562). การศึกษาโฆษณาผ่านแอฟพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษาหญิงในมณฑลกวางสี. (การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ปิยนุช จึงสมานุกูล. (2563). องค์ประกอบแอปพลิเคชัน TikTok ที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการซื้อสินค้าของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล).

พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าและพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 6(2), 35-51.

มัญชุตา กิ่งเนตร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ศศิธร กกฝ้าย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ร้านสะดวกซื้อของประชากร ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2566-2570. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565, จากhttp://www.udonthanilocal.go.th /system_files /256/d9666fa5dddc3130144d36dcd785c97a.pdf.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). IUB 2022: What’s next, Insight and Trend เจาะลึกไลฟ์สไตล์ คนไทยในวันที่ขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/pr- news/iub2022.aspx.

สุพรรณวดี กลัดทิม. (2564). การสร้างแบรนด์บนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (TikTok Application) ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตธนบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

อริสรา ไวยเจริญ. (2557). รูปแบบการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหำนคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

A.T.M, S., & Kutub, C. U. (2 0 1 4). Social Media Research and Its Effect on Our Society. International Journal of Information and Communication Engineering, 8(6), 2009-2013.

Beer, C. (2019). Global web index. Retrieved from Is TikTok Setting the Scene for Music on Social Media?. Retrieved from https://blog.globalwebindex.com/trends/tiktok-music-socialmedia/.Clement, J. (2020). TikTok- Statistics & Facts. Retrieved from https://www.statista.com/topics/6077/tiktok/.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed). New York: John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Fadillah, F. and Kusumawati, N. (2021). Factors Affecting Makeup Products Online Impulsive Buying Behavior on TikTok. Proceeding Books of the 6th ICMEM 2021, West Java: Bandung Indonesia.

Handayani, R. C., Purwandari, B., Solichah, I., and Prima, P. (2018). The Impact of Instagram “Call-to-Action” Buttons on Customers’ Impulse Buying. 5 0 – 5 6.

Marketingoops.com. (2564). แค่สนุกไม่พอ แผนธุรกิจปี 2021 ของ TikTok เน้นการตลาด สร้างอาชีพให้คนได้. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564 ,จาก https://www.marketingoops.com/digital-life/digital-2021-report-in-jan-by-we-are-social-and-hootsuite/.

The 1 Insight. (2564). ตลาด Prestige beauty บูมหลังโควิด. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566, จาก https://mgronline.com/business/detail/9640000104598.

TikTok. 2565. TikTok เผยข้อมูลตลาดภูมิภาค เจาะลึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เบิกทางโอกาสใหม่ให้ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2566, จาก https://newsroom.tiktok.com/th-th/as-digital-drives-purchase-decisions-tiktok-emerges-as-a-favorite-platform-in-upcountry-with-engagement-solutions-for-brands-at-hand.