การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ ที่ส่งเสริมสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อุรารัตน์ อ่อนทอง
น้ำเพชร นาสารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE)   (2) แบบวัดความสามารถการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ (3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังนี้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที(t-test)


ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) พบว่า


  1. สมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) มีคะแนนความสามารถในการอธิบายปรากฏการณใน เชิงวิทยาศาสตร์ค่าเฉลี่ยรวม 71.31 ผ่านเกณฑร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในระดับ 3 พึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{X} = 2.70, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

ขจรศักดิ์ ศิริมัย.(2554). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566. จาก http://competency.rmutp.ac.th/.doc.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018 ความฉลาดด้านการอ่าน ความฉลาดด้านวิทยาศาสตร์ ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์ และสมรรถนะการอยู่ร่วมกับสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

จิรภา กองมา. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ POE ร่วมกับสื่อประสมเรื่องลมฟ้าอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

จาตุรนต์ หนุนนาค. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย ที่มีผลต่อสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2561). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ . นครปฐม: ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับบทบาทของศึกษานิเทศก์แนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566, จาก https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.

พัชรวรินทร์ เกลี้ยงนวล. (2556). การพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 93-104.

รณธิชัย สวัสดิ์. (2565). การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะCOMPETENCY–BASED EDUCATION: CBE. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 187-201.

รัตนาภรณ์ กลางมะณี. (2553). การพัฒนาเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 เรื่อง แรงและความดัน โดยใช้การสอนแบบ PREDICT-OBSERVE-EXPLAIN (POE). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุวัทนา สงวนรัตน์. (2564). หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในสถานศึกษา (Curriculum and competency-based teaching in school). วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2), 351-364.

คณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

Gunstone. (2001). Student and Teacher Perceptions of the Use of Multimedia SupportedPredict–Observe–Explain Tasks to Probe Understanding. Research in Science Education, 31: 589–615.