ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ประกายฝน บรรดาศักดิ์ไพศาล
นเรียน นามบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียนภาษาไทยและแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Innovator) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีจำนวนทั้งหมด 39 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  โดยมีการนำเสนอผลการวิจัยทั้งในรูปแบบตารางและบรรยายข้อมูลในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า


            1) นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของการ์ตูน 4 ช่องที่แปลกใหม่สวยงาม และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ในด้านความคิดคล่อง (Fluency) (gif.latex?\bar{X} = 5.5 และ S.D = 2.7) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) (gif.latex?\bar{X} = 6.4 และ S.D = 3.0) ความคิดริเริ่ม (Originality) (gif.latex?\bar{X} = 6.9 และ S.D = 3.0) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) (gif.latex?\bar{X} = 7.3 และ S.D = 3.2)


            2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิชา ภาษาไทย ที่เรียนด้วยหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Innovator ) นักเรียนทั้งหมด 39 คน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 89.7 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} ) = 14.39 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.51


          3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Innovator ) มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ ทั้งด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ มีระดับความคิดเห็นที่เห็นด้วยในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สํานักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พรพิมล ชูสอน, สมหวัง นิลพันธ์, นวภา วงษ์ อินตา, พูนผล ชาญวิรัตน์ และ อารีย์ พาวัฒนา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชา การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 146-160.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2563). หลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Innovator ) เอกสารหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Innovator ). ขอนแก่น: โรงเรียนสาธิตหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.scbfoundation.com/stocks/5a/file/1381311572hbs6y5apdf/การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่%20๒๑.pdf

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: แอนนาออฟเซต.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.

Hugh Delany. (2019). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้น จาก, https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21

Guilford, J.P.(1967). The Nature of Human Intelligence. New York : McGraw-Hill Book Co.