พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล การรับรู้สื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการรับรู้อิทธิพลของ สื่อดิจิทัลของ ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล การรับรู้สื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัล และศึกษาแนวทางการสร้างสื่อดิจิทัลให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างสอบถามจากประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุ 18 ปีขึ้นปี 400 คน และสัมภาษณ์ 10 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน และการวิเคราะห์ Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัลของ ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่แตกต่างกัน 2) การรับรู้สื่อดิจิทัลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัลของ ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ และทักษะการมีส่วนร่วม และ 3) แนวทางการสร้างสื่อดิจิทัลให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า จำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัล ที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอ่านบทวิจารณ์ผลิตภัณฑ์และการให้คะแนน และค้นหาข้อมูลบนโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น บทวิจารณ์จากลูกค้า ภาพถ่าย และวิดีโอ เพื่อให้ได้มุมมองที่แท้จริงและเป็นกลางมากขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ แนวทางการสร้างสื่อดิจิทัลจึงควรสร้างกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัล ของผู้บริโภคโดยการปรับเปลี่ยนการให้ข้อมูลที่เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่มบุคคลเพื่อให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนสื่อดิจิทัลที่ปรับให้เหมาะกับความสนใจและความต้องการของผู้บริโภค จะนำพาไปสู่ความพึงพอใจและความภักดีของผู้บริโภคได้ดีขึ้น อีกทั้งเมื่อศึกษาการรับรู้สื่อดิจิทัลก่อนตัดสินใจเข้าไปชมสินค้าหรือบริการที่สนใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทินกร โพธิ์สีทา. (2563). การรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110),67-76.
ปวีร์รวี อินนุพัฒน์. (2564). การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจต้านภัยดิจิทัลให้แก่ประชาชน. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ.,11(2),21-36.
พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์ ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 7(1), 147-190.
ภาวินี สุจริตสาธิต. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์อินสตาแกรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/
อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์. (2563). การเปิดรับสื่อของผู้ฟังเจเนอเรชันวาย ที่มีต่อองค์ประกอบการสื่อสารของพอดแคสต์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,2(16), 125-135.
Investopedia. (2023). Is Having a Smartphone a Requirement in 2023?. [online]. Retrieved June 1, 2022, from: https://www.investopedia.com/is-having-a-smartphone-a-requirement-in-2021-5190186
Korte, M. (2022). The impact of the digital revolution on human brain and behavior: where do we stand?. Dialogues in clinical neuroscience, 14(1), 101-111.
Liu, P. L. (2020). COVID-19 information seeking on digital media and preventive behaviors: The mediation role of worry. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 23(10), 677-682.
Mathew, V., & Soliman, M. (2021). Does digital content marketing affect tourism consumer behavior? An extension of t echnology acceptance model. Journal of Consumer Behaviour, 20(1), 61-75.
Pew Research Center. (2021). Mobile Fact Sheet. [online]. Retrieved June 1, 2022, from: https://www.pewresearch.org/internet/fact-sheet/mobile/
TikTok (2565). TikTok เผยข้อมูลตลาดภูมิภาค เจาะลึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เบิกทางโอกาส ใหม่ให้ธุรกิจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://newsroom.tiktok.com/th-th/as-digital-drives-purchase-decisions-tiktok-emerges-as-a-favorite-platform-in-upcountry-with-engagement-solutions-for-brands-at-hand.
Wang, J., & Xie, J. (2022). Exploring the factors influencing users' learning and sharing behavior on social media platforms. Library Hi Tech, (ahead-of-print).
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis-3. New York : Harper.