ความสามารถคิดบริหารจัดการตนของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเสริมวิชาการ

Main Article Content

ฐาปณีย์ แสงสว่าง
รัชฎา ทับเทศ
ฐิติพงศ์ ศุภวัฒน์ภิญโญ
อัญชัญ โทนเดี่ยว
ปิยพร แก้วภิรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถคิดบริหารจัดการตนของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเสริมวิชาการ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน ที่ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โดยมีครูห้องเสริมวิชาการเป็นผู้ให้ข้อมูลใน แบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ เพศชายมีคะแนนทีปกติเฉลี่ยของความสามารถคิดบริหารจัดการตนในทุกทักษะ ทุกองค์ประกอบ และภาพรวม สูงกว่าเพศหญิง และ 2) นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 5 คน มีโพรไฟล์ความสามารถคิดบริหารจัดการตนองค์ประกอบการกำกับอารมณ์ สูงกว่าการคิดเกี่ยวกับการรู้คิดและการกำกับพฤติกรรม และจำนวน 5 คน มีโพรไฟล์ความสามารถคิดบริหารจัดการตนองค์ประกอบการกำกับอารมณ์ ต่ำกว่าการคิดเกี่ยวกับการรู้คิด และการกำกับพฤติกรรม อธิบายได้ว่า ความสามารถคิดบริหารจัดการตนของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถพัฒนาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2558). โรคการเรียนรู้บกพร่อง. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์ (บรรณาธิการ). จิตเวช ศิริราช DSM-5. (น. 547). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

ฐาปณีย์ แสงสว่าง. (2559). ความสามารถคิดบริหารจัดการตน: แบบวัดและแนวทางการพัฒนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กวัย 7 – 12 ปี. ใน สุภาวดี หาญเมธี และภาวณา อร่ามฤทธิ์ (บรรณาธิการ). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Functions ในเด็กวัย 7 – 12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. (น. 81 – 83). กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.

ระพีพร ศุภมหิธร, รัชฎา ทับเทศ, มณฑา หิรัญบัฏ, รุ่งฤดี ลุ่มร้อย, และ พรพรรณ เลียบสวัสดิ์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32 (1), 92.

Gioia, G. A., Isquith, P. K., Guy, S. C., and Kenworthy, L. (2000). Professional Manual Behavior Rating Inventory of Executive Function. Florida: PAR.

Gioia, G. A., Isquith, P. K., Retzlaff, P.D., & Epsy, K. A. (2002). Confirmatory Factor Analysis of the Behavior Rating Inventory of Executive Function (BRIEF) in a Clinical Sample. Child Neuropsychology: A Journal on Normal and Abnormal Development in Childhood and Adolescence, 8(4), 249 – 257.

Kaufman, C. (2010). Executive Function in the Classroom: Practical Strategies for Improving Performance and Enhancing Skills for All Students. Maryland: Paul H. Brookes Publishing.

McCloskey, G., Perkins, L. A., and Divner, B. V. (2009). Assessment and Intervention for Executive Function Difficulties. New York: Taylor & Francis Group.

Meers K. (2013). Resource Room. In: Volkmar F.R. (eds) Encyclopedia of Autism Spectrum Disorders. New York: Springer. https://doi.org/10.1007/978-1-4419-1698-3_1776

Meltzer, L. (2007). Executive Function in Education : from theory to practice. London: Guilford Press.

Meltzer, L. and Krishnan, K. (2001). Executive Function Difficulties and Learning Disabilities Understandings and Misunderstandings. In Meltzer, L. (Editor), Executive function in education: from theory to practice. (p. 77). New York: The Guilford Press.

Meltzer, L. and Montague, J. (2001). Strategic learning in students with learning disabilities: What have we learned? In B. Keogh & D. Hallahan (Ed.), Research and global perspectives in learning disabilities: Essays in honor of William J. Cruickshank (Chapter 7). Hillsdale, NewJersey: Erlbaum.

Peng P. and Fuchs D. (2016). A meta-analysis of working memory deficits in children with learning difficulties: is there a difference between verbal domain and numerical domain? J. Learn. Disabil. 49, 3–20. https://doi.org/10.1177/0022219414521667

Peterson, E. and Welsh, C. M. (2014). The Development of Hot and Cool Executive Functions in Childhood and Adolescence: Are We Getting Warmer?. In Goldstein, S., & Naglieri, J. A. (Eds.), Handbook of Executive Functioning (p. 60). New York: Springer Science Business Media.