การออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะคิดแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย และด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ด้านละ 3 ท่าน (2) นักศึกษาชั้นปี 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 28 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการพัฒนา และขั้นตอนการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบหนึ่งกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ ร่วมกับการสรุปและตีความ


ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน (2) ทักษะการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2565. แผนใช้จ่ายงบประมาณประจำปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.moe.go.th/.

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์ ปราณีณยา สุวรรณณัฐโชติ และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2560. การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนรู้กลับด้านตามกรอบแนวคิดทีแพคและทฤษฎีขยาย ความคิดสำหรับครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,19 (4), 24-38.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. 2565. แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/03/01

จารุณี ซามาตย์ และสุมาลี ชัยเจริญ. 2559. การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาคอมพิวเตอร์ศึกษา.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,7(1), 191-201.

จิราการต์ อ่อนซาผิว และสุชาดา นันทะไชย. 2564. ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โครงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 49-66.

ไทยโพสต์. (2565, 26 กันยายน). PISA สะท้อนเยาวชนไทย พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 หรือไม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.thaipost.net/education-news/229741/

บุญเลี้ยง ทุมทอง และ ประทวน วันนิจ. 2565. การศึกษาในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สททส.) 28(3), 1-13.

พราวเพ็ญธรรม เรื่องศรี. 2560. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการนำตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ภัทราวรรณ สุวรรณวาปี และอิศรา ก้านจักร. 2563. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เกมมิฟิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณเรื่องการแก้ปัญหา ชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม. วารสารบัณฑิตวิจัย,11(11), 15-27.

สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. 2544. การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

สุชาติ วัฒนชัย. 2553. การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ชัยเจริญ. 2559. การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ (Instructional Design: Principles and Theories to Practices. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2565. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

อิศรา ก้านจักร. 2557. กรอบแนวคิดในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Eugene, OR: ISTE/ASCD.

Bergmann, J., & Sams, A. (2014). Flipped learning: Gateway to student engagement. Eugene, OR: ISTE/ASCD.

Hannafin, M., Susan, L., and Kevin, O. (1999). Open learning environment: Foundations, methods and models. In Reigeluth, C. M. (ed.), Instructional design theories and models: A new paradigm of instructional theory. Volume II. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2013). PISA 2015 results Mathematical literacy, reading literacy, and scientific literacy: executive summary. Bangkok: Advance Printing Service.

Polya, G. (1957). How to Solve It: A New Aspect of Mathematical Method. New York: Doubleday & Company.

Richey, R.C and KleinJ.D. (2007) Instructional Design Theories and Model : A New Paradigm Instructional Theory, Volume II. NerJersey : Lawrence.