ห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

เสาวลักษณ์ จิตติมงคล
อรุณี ฮามคำไพ
มัลลิกา จำปาแพง
วไลพร พลอยวิเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 4) เพื่อทดสอบผลกระทบของการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาจากผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 335 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ประเภทผ้าและ เครื่องแต่งกาย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความคิดเห็นต่อห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายละเอียดเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านโลจิสติกส์ขาเข้าการปฏิบัติการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามลำดับ 2) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ประเภทผ้าและ   เครื่องแต่งกายในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายละเอียดเป็น     รายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีความเชื่อมโยงฐานรากทางประเพณี มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และสามารถบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชนตามลำดับ และ 3) ผลการวิเคราะห์ผลกระทบของห่วงโซ่คุณค่าที่มีผลต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ด้านกระบวนการจัดหา (PCM) ด้านการตลาดและการขาย (MAS) และด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร (OIF) ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นของผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถสร้างสมการถดถอยได้ดังนี้    


          CEC = 0.336 (HRM) + 0.187 (PCM) + 0.178 (MAS) + 0.123 (OIF)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: บีทีเอสเพรส.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). ประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://otop.cdd.go.th/products.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2566). ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566, จาก http://cddata.cdd.go.th/apps/bigdata/bigdata.html.

ณัฐฐิญา ปัญญา และ อารีย์ นัยพินิจ (2564). แนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อรถแลกเงินของสถาบันการเงินกรณีศึกษา: ทีมสินเชื่อขอนแก่น 1. วารสารมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,11(3), 1-10.

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต และ ศาสตรา เหล่าอรรคะ. (2564). การพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(3), 251-264.

ธนิต โสรัตน์. (2550). การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: ประชุมทองพริ้นติ๊ง กรุ๊ป จำกัด.

นครินทร์ น้ำใจดี. (2565). การพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในย่านเมืองเก่าเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 218-231.

นรินทร์ สังข์รักษา และ สมชาย ลักขณานุรักษ์. (2555). เพื่อพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืนในจังหวัดราชบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2555). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำได้จริง หรือตามกระแส. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565, จาก https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFile Download/ p025-28.pdf.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 7(1), 205-250.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2566). การวิเคราะห์กรอบแนวความคิดสมการโครงสร้างของเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อความได้เปรียบด้านการแข่งขันสำหรับวิสาหกิจชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 138-151.

ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล, ดวงพร กิจอาทร, ชิดชนก ปรีชานันท์ และ ศิริพร เลิศยิ่งยศ. (2565). ถอดบทเรียนห่วงโซ่คุณค่าระบบการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่โนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 8(1), 103-118.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). ร่างกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

สุริยะ วิริยะสวัสดิ. (2554). บทบาทกํานันผู้ใหญ่บ้านท่ามกลางสังคมไทยที่กําลังเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก http://www.alro.go.th/alro/index.jsp.พับลิสชิ่ง จำกัด.

อัญชลีพร ใจสิทธิ์ และ จุฑาทิพย์ เฉลิมผล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6(3), 623-630.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.

Eksirichaikul, N. (2013). The Value chain management model of catering business for Nakhon Pathom Province related to creative economy concept, Graduate school. Bangkok: Silpakorn University.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate Data Analysis (7th Edition). New York: Pearson.

Hinkle, D. E., Wiersma, W., and Jurs, S. G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston, MA: Houghton Mifflin Company.

Kaplinsky, R., and Morris, M. (2000). A Handbook for Value Chain Research. IDRC.

Porter, M. E. (1985). The Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.

Theepapal, P. (2008). Strategic Management. Bangkok: A-morn printing.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition). New York: Harper and Row.