ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเกม KAHOOT เรื่อง บรรยากาศของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ดนุพล สืบสำราญ
ศตวรรษ ศรีนุเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเกม KAHOOT เรื่อง บรรยากาศของเรา ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเกม KAHOOT เรื่อง บรรยากาศของเรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน    การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน ได้มาจากการวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเกม KAHOOT 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ Dependent Sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเกม KAHOOT เรื่องบรรยากาศของเรา หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเกม KAHOOT เรื่อง บรรยากาศของเรามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาสาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

กิ่งกมล ศิริประเสริฐ และ กอบสุข คงมนัส. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม Kahoot วิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 4(2), 157- 180.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานวิทยทรัพยากร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2543). การวัดและประเมินผลการศึกษาทฤษฎีและประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อักษรเจริญทัศน์.

พรวสันต์ มาเม่น และ รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563). ผลการพัฒนากิจกรรมเกม KAHOOT เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์, 3(1), 13-24.

รุ่งโรจน์ ศรีจันทร์แก้ว, ปกรชัย เมืองโคตร, และ นลิตา ภูสีฤทธิ์. (2565). ผลของการใช้แอปพลิเคชันคาฮูท (KAHOOT) ที่มีต่อพุทธิพิสัยด้านความรู้ความจำ เรื่อง พื้นฐานอัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 1-15.

โรงเรียนราษีไศล. (2565). แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนเพื่อการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์. กลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนราษีไศล.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุวีริยาสาส์น.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. ประสานการพิมพ์.