การจัดกิจกรรมการสร้างความร่วมมือของผู้ปกครองโดยใช้สารนิทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมการสร้างความร่วมมือของผู้ปกครองโดยใช้สารนิทัศน์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของผู้ปกครองโดยใช้สารนิทัศน์ 3) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้สารนิทัศน์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 ประกอบด้วย 1) นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 จำนวน 5 คน นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 7 คน รวม 12 คน 2) ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 7 คน รวม 12 คน ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองบะโคกสว่าง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการสร้างความร่วมมือของผู้ปกครองโดยใช้สารนิทัศน์ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเชื่อมโยงปัญหา ขั้นวางแผนร่วมกัน ขั้นดำเนินการ ขั้นนำเสนอ และขั้นสรุปอภิปรายผล ส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม การรายงานพัฒนาการเด็ก การสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน 2) หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้สารนิทัศน์ผู้ปกครองมีพฤติกรรมความร่วมมือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านอาสาสมัคร ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน และด้านการตัดสินใจสูงกว่าก่อน การทดลอง ค่าเฉลี่ย 89.50 อยู่ในระดับดีมาก 3) หลังการจัดกิจกรรมการสร้างความร่วมมือของผู้ปกครองโดยใช้สารนิทัศน์เด็กมีทักษะชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ย 63.92 อยู่ในระดับดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: เบรนเนสบุ๊คส์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2563). จิตวิทยาพัฒนาการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ผลโยธิน. (2560). เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2552). การวางแผนกลยุทธ์และการวิเคราะห์โครงการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2556). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ. (2561). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 286-299.
รัตนาภรณ์ ยาประเสริฐ และคณะ.(2566). การวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3. วารสารและงานวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(3),44-59.
รุ่งทิพย์ ศรสิงห์ และคณะ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้เกมการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 92 - 104.
โรงเรียนบ้านหนองบะโคกสว่าง. (2565). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบะโคกสว่าง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. โรงเรียนบ้านหนองบะโคกสว่าง.
วรนาท รักสกุลไทย และ นฤมล เนียมหอม. (2555). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านภาษาใน ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา-รู้เขา) (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
อภิญญา เวชยชัย. (2551). การพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในสังคมไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Daniel, U.L. and Rayna, F.L. (1996). Home environment, the family and cognitive development society and education (9th ed.). Simon & Schuster.
Epstein, J. (1995). School/family/community partnerships: Caring for the children we share. Phi Delta Kappan, 76, 701-712.
Piaget, J. (1972). Intellectual evolution for adolescence to adulthood. Hunman Development, 15(1): 40–47.
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in society:The developmental of higher psychological process. Cambridge, Harvard University Press.