การจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพกายของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชาย - หญิงอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองแข้วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า (1) ระดับสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีมาก ( = 42.47) และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการทรงตัวอยู่ในระดับดีมาก ( = 13.87) ด้านความคล่องแคล่วว่องไวอยู่ในระดับดีมาก ( = 14.33) และด้านความอ่อนตัวอยู่ในระดับดีมาก ( = 14.27) (2) สมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโยคะเชิงสร้างสรรค์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยมีค่าร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 54.53
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลา ลำพูน และ ทรรศนัย โกวิทยากร. (2559). เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา 1071104 พัฒนาการและการเติบโตของเด็ก คณะครุศาสตร์ มหาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 5(4), 30 – 36.
เกศสุดา ชาตยานนท์ บุญงามอนงค์. (2553). ฝึกสมาธิเด็กด้วยโยคะ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาพรบุ๊คส์.
จริยา จุฑาภิสิทธิ์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, วีระศักดิ์ ชลไชยะ และสุรีย์ลักษณ์สุจริตพงศ์. (2556). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.
ดวงพร พันธ์แสง. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงโยคะที่มีตอพัฒนาการดานรางกายของเด็กปฐมวัย. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. ThaiLIS. https://shorturl.asia/cV3QW
เทพฤทธิ์ สิทธินพพันธ์. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวการทดสอบสมรรถภาพทางกายของคณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย (ICSPFT). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 7). วีริยาสาส์น.
พาสนา จุลรัตน์.(ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอน วิชา จิตวิทยาสำหรับครู (ศษ 141) Psychology for Teachers (ED 141). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรชลัต สุขแก้ว. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมโยคะที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกของเด็กวัยอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(1), 783-791.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เฮ้าออฟเคอร์มีส์.
พีระ บุญจริง. (2541). โยคะชำระโรค (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธรรมรักษ์การพิมพ์.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research) (พิมพ์ครั้งที่ 12).ตักสิลาการพิมพ์.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. แม็ค.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย ใน เอกสารชุดวิชาECED 201 การร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เอกลักษณ์ พุฒิธนสมบัติ. (2549). ผลการฝึกโยคะลาทิสที่มีต่อสุขภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. ThaiLIS. https://shorturl.asia/W3gne
Japan Sport Association, การกีฬาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กด้วยการเล่นตามแนวคิด ACP (Active Child Program). KOHKEN PRINTING Co.,Ltd.