การวิเคราะห์ต้นทุนและจุดคุ้มทุนในการประกอบธุรกิจผลิตปลาร้าบองสมุนไพร ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองผือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นีรนาท เสนาจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาต้นทุนและรายได้จากผลิตภัณฑ์ (2) วิเคราะห์ผลตอบแทนและจุดคุ้มทุน (3) ทำการทดสอบการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจุดคุ้มทุน และ(4) เสนอแนวทางในการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ปลาร้าบองสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบองสมุนไพรบ้านหนองผือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 5 ราย ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สูตรการคำนวณทางการบัญชี ผลวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมเท่ากับ 4,670.76 บาท ต้นทุนต่อกระปุกเท่ากับ 24.57 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง 15.68 บาท  ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 5.26 บาท และค่าใช้จ่ายในการผลิต 3.63 บาท มีปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุนต่อรอบเท่ากับ 8 กระปุก มีกำไรส่วนเกิน 5.73 บาทต่อกระปุก มีกำไรต่อรอบเท่ากับ 1,029.24 บาท อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายต่อรอบเท่ากับ 18.05%  อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนต่อรอบเท่ากับ 21.81%  ผลทดสอบการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจุดคุ้มทุน กรณี ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงเพิ่มขึ้น 5%  พบว่ามีกำไรส่วนเกินลดลงเป็น 4.89 บาทต่อกระปุก มีปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุนต่อรอบเพิ่มขึ้นเป็น  10 กระปุก กรณี ราคาขายเพิ่มขึ้น 5 บาท พบว่ามีกำไรส่วนเกินเพิ่มขึ้นเป็น 10.73 บาทต่อกระปุก มีปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุนต่อรอบลดลงเหลือ 4 กระปุก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2558). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2553). การเงินธุรกิจ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.

ทิพวรรณ รัตนพรหม, นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์, นันทิกานต์ ประสพสุข และ เนตรวดี เพชรประดับ. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กล่องซิปรอบจากกระจูดรายา: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านพรุกาบแดง 110/1 หมู่ที่ 7 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, จาก https://www.hu.ac.th/conference/conference2021/Proceeding/doc/04%20BU/110-BU%20(P.1531%20-%201544).pdf

นฤมล อริยพิมพ์. (2565). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกยาสูบ ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยาสูบบ้านสวนจิก หมู่ที่ 1 อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาตะวันออกเฉียงเหนือ,13(1),17-29. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/262243

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2555). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกาหนดราคาผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 169-180.

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2560). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.

ศรุต ศิริพรกิตติ. (2565). ผลของกระบวนการผลิตต่ออายุการเก็บรักษาแจ่วบองอบแห้ง. (เอกสารวิชาการ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำฉบับที่ 5/2564), จากhttps://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210916100933_1_file. pdf

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: กรีนไลฟ์พริ้นติ้งเฮาส์.

หทัยรัตน์ ศรีบุบ, ศรสวรรค์ ลีกุล, อาทิตยา นามมาตย์, และ อรชุมา มูลศรี. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 43-55.

อินทิรา สุวรรณดี, ภัทรวดี พิมโกทา, พรทิวา ทมถา, สุพรรษา อามาตย์สมบัติ, อัจฉราภรณ์ บุตรภักดี และ หทัยกาญจน์ เวียงหลวง. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาร้าแปรรูป: กรณีศึกษากลุ่มแจ่วบอง OTOP 3 ดาว บ้านหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/pdf/ 20200425103017.pdf.