กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของระหว่างประเทศต่างประเทศ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (4) การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้แนวคิด หลักการ และทฤษฎีในการวิเคราะห์เกี่ยวกับกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ แม้ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ควบคุม และภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีประสบการณ์ ความรู้และความเชี่ยวชาญ แต่จากผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่าการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในกลุ่มงานอาจารย์ของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาดังกล่าวนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ใดสนับสนุนและกำหนดเกี่ยวกับการให้ตำแหน่ง ทางวิชาการ ส่งผลให้อาจารย์ขาดการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการเพื่อให้นำความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย (1) คำนิยามศัพท์ (2) หมวด 1 การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (3) หมวด 2 ตำแหน่งทางวิชาการ (4) หมวด 3 บทลงโทษ และ (5) หมวด 4 การเสนอขอทบทวนผลการพิจารณา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติเฉลิม รักษ์งาม. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ กองบังคับกาปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 118-125.
ฐิตาภา ทองไชย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัย.กองทุนส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประสิทธิชัย เดชขำ. (2555). เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. รายงานวิจัย. จากวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.
เพลิน หนูเล็ก. (2563). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียนนายสิบตำรวจ. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 4(2), 77-86.
ภูวนาถ เครือตาแก้ว. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจจราจรสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(63), 133-144.
ฤทธิชัย ช่างคำ, สุรพล ราชภัณฑารักษ์, อเนก เหล่าธรรมทัศน์ และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2562). บทบาททางการเมืองของเจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2), 112-124.
อาทิตย์ แก้วอุ่นเรือน. (2561). การมีส่วนร่วมของข้าราชการตำรวจในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(1), 186-195.