การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อมัลติมิเดียกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

สุดารัตน์ สมปัญญา
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมิเดีย เรื่อง Vocabulary ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Vocabulary ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) โดยการสอนโดยใช้สื่อมัลติมิเดียและ    การสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี(ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลาก ได้มาจำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 เรื่อง Vocabulary จำนวน 5 แผน รวมทั้งหมด 10 คาบ มีคุณภาพเท่ากับ 4.93 อยู่ในระดับมากที่สุด        (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 30 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนก 0.58 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 (3) สื่อมัลติมิเดียสำหรับจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง Vocabulary จำนวน 5 ชุด มีคุณภาพเท่ากับ 80.59 (E1) / 80.93 (E2) สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติที่ t–test (Independent Samples)


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมิเดีย เรื่อง Vocabulary ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.59 / 80.93  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี   (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) ที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อมัลติมิเดียสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ซุนกิบพลี คะแน. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอัลกุรอานขั้นพื้นฐานที่มีการผสมสระซูกูนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศานติวิทยา จังหวัดยะลา. มนารอ. วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 1(2), 1-13. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/250055/169234

เทียมยศ ปะสาวะโน. (2566). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องระบบสารสนเทศ สำหรับครูที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 20(2), 35-45. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SPUCJ/article/view/266983/180094

ธราพงษ์ กรรขำ. (2563). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์บทอาขยานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โดยใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารครุพิบูล, 7(2), 207-219.https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsru/article/view/241397/167898

ธัญเทพ เย็นรมภ์. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคําศัพท์ภาษาอังกฤษในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้เทคนิคคําสำคัญ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(1), 81-97. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/91013

พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 169-180. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/248134/175988

พัชรณัฐ ดาวดึงส์. (2561). การพัฒนาเว็บมัลติมีเดียสำหรับการฝึกสนทนาภาษาจีนระดับเบื้องต้น. วารสารวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 28-41. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2018051009511538.pdf

พิชัยภรณ์ แสนสุข. (2566). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการเขียนคําศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดียสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 34-35. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/265775/181784

สุดารัตน์ โยชน์เยื้อน (2563). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Causative Form โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 14(2), 61-76. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/242948/169755