การพัฒนารูปแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอลสำหรับนักกีฬาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

เทพพิทักษ์ แย้มศิลา
ภัทรานิษฐ์ พรหมสุรินทร์
สุนิศา โยธารส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐาน ในกีฬาฟุตบอลของนักกีฬาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครก่อนและหลังการฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นนักกีฬาฟุตบอล ในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบ การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 15 คน โดยใช้รูปแบบฝึกทักษะฟุตบอลและแบบทดสอบทักษะฟุตบอลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยทักษะฟุตบอล  6 รายการ 1) การเดาะลูกฟุตบอล 2) การรับลูกฟุตบอล 3) การโหม่งลูกฟุตบอลลงสู่เป้าหมาย 4) การเลี้ยงลูกฟุตบอล 5) การส่งลูกฟุตบอลเรียดพื้นตรงเป้าหมาย 6) การส่งลูกฟุตบอลระยะไกลเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ   t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนารูปแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล 6 รายการ 1) ทดสอบการเดาะลูกฟุตบอล 2) ทดสอบการรับลูกฟุตบอล 3) ทดสอบการโหม่งลูกฟุตบอลลงสู่เป้าหมาย 4) ทดสอบการเลี้ยงลูกฟุตบอล 5) ทดสอบการส่งลูกฟุตบอลเรียดพื้นตรงเป้าหมาย 6) ทดสอบการส่งลูกฟุตบอลระยะไกล ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานในกีฬาฟุตบอลพบว่าการฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.77 หลังการฝึกทักษะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.55 และคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักกีฬาโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นกลุ่มตัวอย่าง มีการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนวรรณพร ศรีเมือง (2565). ผลการฝึกความแม่นยำที่มีต่อการส่งลูกฟุตบอลด้วย ข้างเท้าด้านในและการส่งลูกฟุตบอลด้วยหลังเท้าของนักกีฬาฟุตบอลชายมหาวิทยาลัยราชภัมหาสาคาม. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 19(2), 23-32.

พนภาค ผิวเกลี้ยง และ มาเรียม นิลพันธุ์.(2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 80-90.

ภาณุมาศ หอมกลิ่น. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานการเล่นฟุตบอลโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้น ทักษะปฏิบัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศาสตรา วงศบุตรลี. (2551). การสรางแบบทดสอบทักษะฟุตบอลสําหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวดชัยนาท ปการศึกษา 2550. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เศรษฐโชค สิริภักดีกุล. (2555). ระดับทักษะฟุตบอลของนักเรียนชายช่วง ชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ปีการศึกษา 2551. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 13(1), 105-114.

สมเกียรติ เนตรประเสริฐ. (2558). ผลของการฝึกความคล่องตัวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของ นักกีฬา ฟุตบอล ระดับ มัธยมศึกษา ตอน ต้น ช่วง อายุ 12-15 ปี: Effect of Agility Training in Football Dribbling Ability of Lower Secondary School Student Football Players of 12–15 Years Old. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 5(8), 85-94.

แสงจันทร์ วรสุมันต์. (2555). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์.

อนุชิต ขุมโมกข์. (2560). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการส่งและรับฟุตบอลที่มีผลต่อความแม่นยำของนักกีฬาฟุตบอล โรงเรียนไพศาลีพิทยา รุ่นอายุ 15-18 ปี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาลัยราชภัฏนครสวรรค์.