ความคาดหวังต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชน ในจังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ด้วยวิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการเก็บแบบสอบถามเป็นคำถามปลายปิดแต่เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ ให้ตอบแบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปภายในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน ที่ได้จากการเลือกแบบตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ร้อยละ และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่าความคาดหวังของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน 7 องค์ปะกอบ คือ 1) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) คือ ธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก แหล่งน้ำ ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ (ร้อยละ 89.50) 2) ที่พัก (Accommodation) ด้านรูปแบบที่พัก คือ รีสอร์ท (ร้อยละ 60.00) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในที่พัก คือ ห้องน้ำ หรือห้องอาบน้ำที่มีความสะอาด (ร้อยละ 93.00) ด้านการตกแต่งที่พัก คือ ตกแต่งเรียบง่าย (ร้อยละ 74.00) 3) กิจกรรม (Activity) คือ การชมธรรมชาติ (ร้อยละ 86.50) 4) การเข้าถึง (Accessibility) คือ การคมนาคมที่สะดวกเดินทางง่าย (ร้อยละ 92.00) และช่องทางติดต่อแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ช่องทางเฟสบุ๊ค (ร้อยละ 82.30) 5) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) คือ ห้องน้ำสาธารณะ (ร้อยละ 75.30) 6) การจัดการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Travel) คือ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม (ร้อยละ 83.00) 7) การมีส่วนร่วมและประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว (Cognitive ability and Benefit) คือ ความประทับใจที่ได้จากวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม (ร้อยละ 83.30) จากผลการวิจัยนำสู่การพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชนและนำสู่การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโฮมสเตย์. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กองเศรษฐกิจและกีฬากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย 2565. https://secretary.mots.go.th/policy/more_news.php?cid=6
ทรงสุข บุญทาวงค์ และคณะ. (2565). อาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ในมิติประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 178-191.
ธนกฤต แดงทองดี. (2565). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism) : การท่องเที่ยววิถีอนุรักษ์ ผสาน คน กับธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกัน. https://www.seub.or.th/blo}ging/knowledge/ecotourism/
ปริญญาภรณ์ อินทร์กอง. (2563). ปัจจัยในการเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกที่พัก ในจังหวัดกาญจนบุรี. [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Parinyaporn.Ink.pdf
ไพฑูรย์ พงศะบุตร. (2552). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 5). (ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 5).
ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 50-63.
ยุชิตา กันหามิ่ง และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าในเขตภาคเหนือ ประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 19(2), 65-92.
วสิษฐา เปี่ยมสกุล. (2554). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2550). กิจกรรม และ กิจการ. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=กิจกรรม-และ-กิจการ-๒๒-เมษ
อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยแม่โจ้. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2564/artchariyaporn_kantamalajaroen/fulltext.pdf
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.
Dickman, S. (1989). Tourism: An Introductory Text. Hodder Education.
World Tourism Organization. (2002). Ecotourism and Protected Areas. Retrieved January 10, 2024, from https://www.unwto.org/sustainable-development/ecotourism-and-protected-areas