องค์ประกอบและรูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการสื่อสารในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร 4) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 5) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจกองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านผู้รับสารเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด 2) รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการสื่อสารแบบแนวไขว้เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านเวลาเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐาน 4) องค์ประกอบของการสื่อสาร ได้แก่ ด้านผู้รับสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านข้อมูลข่าวสาร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 5) รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ ด้านการสื่อสารแบบแนวไขว้ ด้านการสื่อสารแบบแนวนอน และด้านการสื่อสารแบบบนลงล่าง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ดังนั้นผู้รับสารต้องมีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีโดยองค์กรควรใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อสื่อสารในหน่วยงานเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งควรใช้รูปแบบการสื่อสารให้เหมาะในแต่ละครั้งเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนวัฒน์ ศรีวงค์วรรณ. (2564). ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย. [รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง].
นพพล นพรัตน์. (2561, 20 กันยายน). ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร. [Online]. https:/acrosswork.co.th/ 2018/10/5-internal-communication/.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,18(1), 375-396.
พนิดา เกรียงทวีทรัพย์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].
แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กรกรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
วรเดช ยศวัฒนะกุล. (2562). รูปแบบการสื่อสารที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอนุบาลชุมชน บางบ่อ(ศุภพิพัฒน์รังสรรค์). [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www.excmba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1
วิเชียร วิทยอุดม. (2556). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ. วารสาร Journal of Nakhonratchasima College. 9(1), 102 – 107.
สำรวย พะยอมใหม่. (2565). การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(7):319-336.
หนึ่งฤทัย นวลแป้น. (2555). (2566, 7 สิงหาคม). การติดต่อสื่อสารในองค์กร. https://www.l3nr.org/posts/525022.
Berlo, D. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Peterson, E. & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.