ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 274 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโรยามเน่ (Yamane,1973) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น ( PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น มาตรฐานที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือมาตรฐานครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย รองลงมาคือ มาตรฐานคุณภาพของเด็กปฐมวัยและมาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษา. คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ.
ขนิษฐา ศิริรัตน์. (2562). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 241 - 246.
ณัฏฐ์ ภัทรยศพงศ์ และวิเชียร รู้ยืนยง. (2563). กลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ธนาเดช เขียวแก้ว และ วิเชียร รู้ยืนยง (2565). ความต้องการจำเป็นการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 30 - 41.
นนทชัย จับใจสุข และ สมนึก ทองเอี่ยม. (2566). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนทวาราวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(3), 321 – 334.
ปรัตถกรณ์ กองนาคู และ ประสงค์ สายหงษ์. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 46-56.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่136 ตอนที่.57ก. https://www.moe.go.th/backend/wpcontent/uploads/2020/10/5
วิชุดา เหล่าน้ำใส และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. (2566, 3 มกราคม). ข้อมูลพื้นฐาน. https://kklocal.go.th/frontpage
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rdEd). Harper and Row Publications.