กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

Main Article Content

อัจฉราวรรณ เชื้อเจ้าทรัพย์
ยุทธศาสตร์ กงเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และข้าราชการครู จำนวน 277 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน กำหนดขนาดโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane วิธีการสุ่มแบบตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม มาตรประมาณค่า 5 มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของ      การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งหมด 6 ด้าน 2) กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ 30 ตัวชี้วัด และ 30 มาตรการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติกาญจน์ ทักโลวา และ วันทนา อมตาริยกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 310-325.

ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรพถมศึกษาระยอง เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

เพ็ญสุดา ฤทธิ์มนตรี และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2562). กลยุทธ์การเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(4), 83-96.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2566, 10 สิงหาคม). ฐานวิถีชีวิตใหม่. https://www.thaipbs.or.th/news/content/292126.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒนผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ในฐานวิถีชีวิตใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วงศกร เพียรชนะ. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลนคร เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2566, 10 สิงหาคม). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. http://lopburi2.go.th/web/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สิทธิพร สมบูรณ์ทรัพย์. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสมศักดิ์วิทยา. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาพร สุริยะสุขประเสริฐ. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ,14(2), 178-195.

อัญชลี สิงห์มูล และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 16-29.

อัสมารา จินดามณี, จรัส อติวิทยาภรณ์ และ นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการในยุควิถีใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วารสารบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 215-227.

อุทุมพร จันทร์สิงห์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ การทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Aphaiso, P. (2014). The Transformational Leadership Development Program for School Administrators at Aiming to the Learning Organization of Schools under the Primary Educational Service Area Office, Nakhon Phanom Province. [Master of Education Educational Administration]. SakonNakhon Rajabhat University.

Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development. Consulting Psychologists Press.

Muchinsky, P.M. (1997). Psychology Applied to Work An Introductions to Industrial and Organizational Psychology (5th ed). Brooks/Cole.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Prikwarn Graphic.

Sararatana, W. (2012). Concepts, Theories and Issues for Educational Administration (8th ed.). Tippaya Wisut Publisher.