ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

Main Article Content

ศรินญา ทองโคตร
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 315 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเปรียบเทียบของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) พบว่า


  1. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาครูให้มีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 แตกต่างกัน โดยจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงาน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ยุคดิจิทัลและด้านการพัฒนาครูให้มีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564, 18 สิงหาคม). ทักษะและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

เฉลิมพล วงศ์พระลับ และ วานิช ประเสริฐพร. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การศึกษาภาวะผู้นําการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธนกร จันทะนาม. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ลลิตา สมใจ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2566, 26 ตุลาคม). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. https://online.anyflip.com/prphs/yhfk/mobile/index.html

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Sheninger, E. C. (2014). Digital Leadership: changing paradigms for changing times. Corwin.