แนวทางการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ทวีทรัพย์ พุทธตาลดง
นวพล นนทภา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย (2) เปรียบเทียบยุทธวิธีในการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยจำแนกตามระดับมโนทัศน์ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 93 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบยุทธวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีระดับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ต่ำเป็นจำนวนมากที่สุดและผลการศึกษายุทธวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย พบว่า นักเรียนเลือกใช้ยุทธวิธีการเขียนสมการมากที่สุด (2) นักเรียนที่มีระดับมโนทัศน์สูง และปานกลาง นักเรียนเลือกใช้ยุทธวิธีการเขียนสมการมากที่สุด (3) แนวทางการพัฒนาครูจะต้องวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องทศนิยมและเศษส่วน จะต้องอธิบายอย่างช้า ๆ สอน หรืออธิบายจากเนื้อหาง่ายไปยาก พานักเรียนทำโจทย์หลาย ๆ รูปแบบ และใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ดังนั้นสามารถนำแนวทางนี้ไปพัฒนาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). การแกโจทยปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 23(6), 62-74.

Baroody, A. J. (1987). Children's mathematical thinking: A developmental framework for preschool, primary, and special education teachers. Teachers College Press.

Bitter, A. G., Hatfield, M. M., & Edwards, N. T. (1989). Mathematics Method of The Elementary and Middle Schools. A Comprehensive Approach. Allyn and Bacon.

Cockburn, A., & Littler, G. H. (2010). The upper student’s conceptions and misconceptions about photosynthesis in Khon Kaen, Thailand. SEAMEO-RECSAM Journal, 84(4), 3-6.

Dogan, A. (2022). Development of primary school fourth-grade students’ fraction calculation strategies through the argumentation method. Journal of Education and Learning, 16(2), 262-272. https://doi.org/10.11591/edulearn.v16i2.20511

Fülöp, É. (2019). Learning to solve problems that you have not learned to solve: Strategies in mathematical problem solving. (master’s thesis, University of Gothenburg). University of Gothenburg.

Good, C. V. (1959). Dictionary of education (2nd ed.). McGraw-Hill.

Kennedy, L. M. & Tipp, S. (1994). Guiding Children’s Learning of Mathematics (5th ed). Wadsworth.

Krulik, S. & Reys, R.E. (1980). Problem Solving in School Mathematics. NCTM.

Machisi, E. (2013). Exploring solution strategies that can enhance the achievement of low-performing grade 12 learners in some mathematical aspects [Doctoral dissertation]. University of South Africa, Pretoria. http://hdl.handle.net/10500/13244

Musser, G. L., Burger, W. F., & Peterson, B. E. (2005). Mathematics for elementary teachers: A contemporary approach (7th ed. Vol. 6). John Wiley & Sons, Inc.

Nisa, L. C. (2020). Developing mathematical conceptual understanding through problem-solving: The role of abstraction reflective. Universitas Negeri Semarang, Indonesia.

Posamentier, A. S. & Krulik, S. (1998). Problem-Solving Strategies for Efficient and Elegant Solutions. A Researce for the Mathematics Teacher. California: Corwin Press.

Reys, R.E., Suydam, M.N., & Lindquist, M.N. (1995). Helping children learn mathematics. Allyn & Bacon.

Sidney, P. G., Thompson, C. A., & Opfer, J. E. (2019). Development of fraction understanding. In J. Dunlosky & K. A. Rawson (Eds.), The Cambridge handbook of cognition and education (pp. 148–182). Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/9781108235631.008

Tossavainen A., & Helenius O. (2024). Student Teachers' Conceptions of Fractions: A Framework for the Analysis of Different Aspects of Fractions. Mathematics Teacher Education and Development (MTED), 26(1).