อิทธิพลของการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านกาแฟท้องถิ่นที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปริมาณชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านกาแฟท้องถิ่นที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างจำนวน 250 ราย ใช้การเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย ร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Stepwise ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความเกี่ยวพันกับการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพข้อมูล และด้านปริมาณข้อมูลจาก การบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีคุณค่าทางวิชาการ กล่าวคือ มีการวิจัยเกี่ยวกับการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะตัวแปรต้น ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้ตัวแปรการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแปรตาม รวมทั้งการศึกษาการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์กับ ร้านกาแฟท้องถิ่น ซึ่งมีงานวิจัยไม่แพร่หลายมากนัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิตารีย์ ศิริมงคล และ ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านกาแฟท้องถิ่น. BU Academic Review, 22(2), 95-116.
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534. (2566, 31 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 16 ง. หน้า 21-23. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D016S0000000002102.pdf
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2564). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่มีต่อความตั้งใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 1-10.
วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์ สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และศิริกัญญา ทองเส้ง. (2566). พฤติกรรมการท่องเที่ยว ความกังวลในการเดินทางท่องเที่ยว การรับรู้ผ่านการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 18(1), 35-48.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2563). ตัวอย่างที่ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ ควรวิเคราะห์อย่างไร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 3–4.
อัศนีย์ ณ น่าน, ณัฐนันท์ ทองทรัพย์ และพรเพ็ญ เพ็ชรสุขศิริ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร แบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-WOM) และพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่าน แอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลําปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 263-273.
Akinwande, M.O., Dikko, H.G., & Samson, A. (2015). Variance Inflation Factor: As a Condition for the Inclusion of Suppressor Variable(s) in Regression Analysis. Open Journal of Statistics, 05(07), 754-767. Https://doi.org/10.4236/ojs.2015.57075.
Alexander. (2016). Dubin Watson Test & Test Statistic. Statistics How to. Retrieved on 7 July, 2024, from Https://www.statisticshowto.com/durbin-watson-test-coeffeicient/.
Armawan, I. (2022). Analysis of Effect on the Social Media Marketing and Ewom on Purchase Intention of Black Sweet Coffee Shop. Journal of Business management, 12(2), 166-177.
Armawan, I., Sudarmiatin, S., Hermawan, A & Rahayu, W. (2023). The Effect of Social Media Marketing, SerQual, eWOM on Purchase Intention Mediated by Brand Image and Brand Trust: Evidence from Black Sweet Coffee Shop. International Journal of Data and Network Science, 7(1), 141-152.
Bonett, D.G., & Wright, T.A. (2015). Cronbach’s Alpha Reliability: Interval Estimation, Hypothesis Testing, and Sample Size Planning. Journal of Organizational Behavior, 36(1), 3-15.
Dwidienawati, D., Tjahjana, D., Abdinagoro, S.F., Gandasari, D. & Munawaroh. (2020). Customer Review or Influence Endorsement: Which One Influences Purchase Intention More? Heliyon, 6(11), e05543.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis, 6 Ed. Prentice .
Hall, New Jersey, as Cited in Siddiqui, K. (2013). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate Statistical Techniques, World Applied Sciences Journal, 27(2),285-287.
Isyanto, P., Sapitri, R.G. & Sinaga, O. (2020). Micro Influencers Marketing and Brand Image to Purchase Intention of Cosmetic Products Focalllure, Systematic Review Pharmacy, 11(1), 601-605.
Kumari, S.S. (2008). Multicollinearity: Estimation and Elimination. Journal of Contemporary Research in Management, 2008(January – March), 87-95.
Kusumawati, A., Aprilia, F. & Abdilah, Y. (2019). Analyzing Influence of Electronic Word of Mouth (EWOM) toward Visit Intention with Destination Image as Mediating Variable: A Study on Domestic Visitors of Museum Angkut in Batu, Indonesia. Eurasia Economics & Business, 19(1), 50-57.
Mehyar, H., Saeed, M., Baroom, H., AI-Ja’Afreh, A., & AI-Adaileh, R. (2020). The Impact of Electronic Word of Mouth on Consumers Purchasing Intention. Journal of Theoretical and Applied Information Technology, 98(2), 183-193.
Shrestha, N. (2020). Detecting Multicollinearity in Regression Analysis. American Journal of Applied Mathematics and Statistics, 8(2), 39-42.
Zhao, Y., Wang, L., Tang, H. & Zhang, Y. (2020). Electronic Word-of-Mouth and Consumer Purchase Intentions in Social E-Commerce. Electronic Commerce Research and Applications, 41(2020), 100980.