การศึกษาการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

นนทินี จันทะจร
นวพล นนทภา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ (2) เพื่อศึกษาการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม การสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบสังเกตและแบบบันทึกการเปิดชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ พบว่าในด้านบุคลิกภาพส่วนใหญ่แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีบุคลิกร่าเริง แจ่มใส กระฉับกระเฉง แต่ก็มีบางคนที่ดูเงียบขรึม เข้มงวด ด้านการศึกษา มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านลักษณะนิสัยส่วนใหญ่เป็นคนใจดี มีเมตตา สุภาพอ่อนโยน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความเป็นผู้นำ ในด้านพฤติกรรมการแก้ปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ปัญหาได้ดี มีสติ รอบคอบ (2) ผลการศึกษาทักษะการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่านักศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ดี และมีจรรยาบรรณที่ดีต่อตนเอง วิชาชีพผู้รับบริการ สังคม และผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างดี และมีการอธิบายหรือการแสดงแทนเชิงคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายปัญหา อ่าน แปลความหมาย และทำความเข้าใจข้อความ คำถาม กิจกรรม สิ่งของ หรือ รูปภาพ อีกทั้งยังมีการให้คะแนนหรือรางวัลให้กับนักเรียนที่ตอบคำถาม นักเรียนที่ออกมาแสดงวิธีทำหน้าชั้นเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทวีพริ้นท์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2559). คู่มือรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาชาวิชาเฉพาะ และ 2. ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยการฝึกหัดครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC). 9 วิถีสร้างครูสู่ศิษย์ [เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน]. มปท.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 1(2), 1-19.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2566). โครงการการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Professional Learning Community : E-PLC). สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุคนธ์ธา ธรรมพุทโธ. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาหาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนด้วยชุดการเรียนการสอน 3 แบบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ.

อังสนา จั่นแดง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาหลักการคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Abed, Sameer, Kasim and Othman. (2020). Predicting Effect Implementing the Jigsaw Strategy on the Academic Achievement of Students in Mathematics Classes. International Electronic Journal of Mathematics Education. 15(1), 1-7.

Boy and Nancy. (1985). Teaching Behaviours of Excellent Instructors at Miami Dade Community College. Ph.D. Dissertation. The University of Texas at Austin. (Online). Available: http://wwwlib.umi.com/disserlations/fulleiu/8609559.

Reyes and Stanic. (1988). Race, sex, socioeconomic status, and mathematics. Journal for Rrsearnch in Mathematics Education, 19(1), 26-43.

Tomic, Welko. (1989). Teaching Behavior and Student Learning Outcomes in Dutch Mathematics Classrooms. Journal of Educational Research, 82(6), 339-345.

Dijk, Wilhelmina van, Nicholas A., Grasley-Boy, Nicolas. (2019). The relation between classroom management and mathematics achievement: A multilevel structural equation model. International journal of Psychology in the Schools, 56(7), 1173-1186.