การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) ศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม สพม.มหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (= 4.89) แบบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น = 0.712) แบบวัดด้านตรรกะและคณิตศาสตร์์ (ความเชื่อมั่น = 0.740) และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์งานเขียน การบรรยายเชิงวิเคราะห์ และสถิติทดสอบทีกรณีกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพ 80.94 / 81.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) การศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงจำนวน 21 คน จำแนกเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 66.34 (= 8.77, S.D. = 0.83) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ปานกลางจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 33.66 (=7.13, S.D.= 0.35) และความสามารถด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 19 คน จำแนกเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ปานกลางจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (=7.95, S.D.= 1.54) (3) ผลความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
งานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสารคามพิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR. โรงเรียนสารคามพิทยาคม.
ชลชญา เต็มนอง. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามทฤษฎีพหุปัญญาที่เน้นสติปัญญาด้าน การมองเห็นและมิติสัมพันธ์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดห้วยไผ่ จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นราวัลลภ์ รัตนวิจิตร นิธิดา อดิภัทรนันท์ และนันทิยา แสงสิน. (2561). ผลของการใช้กิจกรรมพหุปัญญาเพื่อส่งเสริความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและการเห็น คุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 105-116.
ปวีณา อินทร์ใหญ และ เอื้อมพร หลินเจริญ. (2565). การพัฒนาสื่อประสมตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 146-156.
พัชรา พุ่มพชาติ. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชาการประเมินและสร้างเสริมพฤติกรรมเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยสุโขไทยธรรมาธิราช.
รามนรี นนทภา. (2563). เทคโนโลยีสำหรับคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมาน อัศวภูมิ. (2558). ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(ฉบับพิเศษ), 1-16.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Eissa, M. A & Mostafa, A. A. (2013). The effects of differentiated instruction by integrating multiple intelligences and learning styles on solving problems, achievement in, and attitudes towards math in six graders with learning disabilities in cooperative groups. International Journal of Psycho-Educational Sciences, 2(2), 31-43.
Gardner, H. (1993). Multiple Intelligences: The Theory in Practice. Basic Books.
İnan, C & Erkuş, S. (2017).The Effect of Mathematical Worksheets Based on Multiple Intelligences Theory on the Academic Achievement of the Students in the 4th Grade Primary School. Universal Journal of Educational Research, 5(8), 1372-1377.
Silwana, A & et al. (2021). Students’ Responses Leveling in Solving Mathematical Problem Based on SOLO Taxonomy Viewed from Multiple Intelligences. Indonesian Journal on Learning and Advanced Education, 3(1), 1-16.
Utami, Y. P. (2020). Multiple intelligences: Does it offer a new assistance in encouraging students’ reading comprehension skill. In Proceedings of the International Conference on Culture Heritage, Education, Sustainable Tourism, and Innovation Technologies (pp. 243-248).
Widiana, I. W & Jampel, I. N. (2016). Improving Students’ Creative Thinking and Achievement through The Implementation of Multiple Intelligence Approach with Mind Mapping. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 5(3), 246-254.
Yavich, R & Rotnitsky, I. (2020). Multiple Intelligences and Success in School Studies. International Journal of Higher Education, 9(6), 107-117.