สภาพปัญหา ความต้องการและความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ ความพึงพอใจและแนวทางในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 230 คน โดยการกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนแล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถี่
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณ และด้านความสัมพันธ์กับบุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความต้องการพัฒนาตนเองหลังจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและด้านการบริหารจัดการของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) แนวทางในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก ได้แก่ คณะครุศาสตร์ควรจัดสวัสดิการในการทำประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรจัดการเรียนการสอนหรือจัดอบรมความรู้ทางด้านจิตวิทยาและสุขภาพจิตให้มากกว่านี้และแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรจัดที่พักให้กับนักศึกษา ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา สิงขรรักษ์, ภิเษก จันทร์เอี่ยม และ อรสา โกศลานันทกุล. (2553). ความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 4(3), 26-34.
ชมภูนุช พุฒิเนตร, พิชิต ฤทธิ์จรูญ และ ชลลดา เชิดโฉม. (2565). การศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูในบริบทการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(1), 76-88.
เทอดทูน ค้าขาย, เกษฎา สาลา และ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 33-46.
ธิดารัตน์ สมานพันธ์, วตาภรณ์ พูนผลอำนวย, กรองทิพย์ นาควิเชตร, ภควรรณ ลุนสำโรง และกฤษฎา วัฒนศักดิ์, (2564). การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 545-558.
นันทิชา โชติพิทยานนท์. (2564). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิทยานิพนธ์. วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นุชรินทร์ มิ่งโอโล. (2567). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 18(1), 1-13.
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ และ วลัยพร เตชะสรพัศ. (2554). ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร FED ACADEMIC REVIEW, 4 (ฉบับพิเศษ), 149-160.
วราพร ปิ่นกุล และ นัทนิชา หาสุนทรี. (2564). การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการและความผูกพันในองค์การของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารบก. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(4), 720-731.
ศิรดา ทองเชื้อ. (2557). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอนสาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู. (2566). คู่มือปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับอาจารย์นิทศก์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(หลักสูตร 4 ปี). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สิริรัตน์ หอมชมชื่น. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2557. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
อับดุลฮาลิม อาแด และ อิบบรอเฮง อาลฮูเซน. (2561). รายงานการวิจัยศึกษาผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อัมพร วรานนท์วนิช, นัฎฤดี ปั้นกิจวานิชเจริญ, วิภาวี วันละ และ กิตติธเนศ วิวรรธน์โชต. (2566). สภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 14(2), 93-104.
Acheson, K. and Gall, M. (1980). Techniques in the Clinical Supervision of Teachers: Perspective and Inservice Applications. Longman.
Cronbach, L.J., (1990). Essentials of Psychological Testing. (5thed.). Harper & Collins Publishers.
Masami, I. (2010). Lesson Study: Problem Solving Approaches in Mathematics Education as a Japanese Experience. (ICMER 2010). Procedia Social and Behavioral.