แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตจังหวัดอุดรธานี กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านศรีชมชื่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของกลุ่มทอผ้าไหมขิดทอมือบ้านศรีชมชื่นจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างในเขต จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการวิจัย จากการทดสอบสมมติฐานของระดับความคิดเห็นผู้บริโภคต่ออัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ พบว่า ในภาพรวมอัตลักษณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อ (β= .755) และเมื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายด้าน พบว่า อัตลักษณ์ตราสินค้าในด้านภาพลักษณ์ส่วนตัว/ การรับรู้ตัวตนของตราสินค้ามีอิทธิพลสูงที่สุด (β= .406) รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับตราสินค้า (β= .249) ด้านลักษณะทางกายภาพสินค้า พบว่ามีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจซื้อ (β= -.222) ด้านบุคลิกภาพตราสินค้า (β= .163) ด้านความสามารถในการสะท้อน การเป็นตัวตนของผู้บริโภค (β= .118) และด้านวัฒนธรรมตราสินค้ามีอิทธิพลอยู่ระดับน้อยที่สุด (β=-.094) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ มาบุญ. (2564). อิทธิพลของทัศนคติ การรับรู้ราคา และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัญญ์วรา ไทยหาญ, พวงเพ็ฐ ชูรินทร์ และ สิญาธร นาคพิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 95-120.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). อัตลักษณ์สร้างอย่างไรให้ปัง (ตอนที่ 1). https://bsc.dip.go.th/th/category/marketing2/sm-buildingegosteals1.
ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร กรมการปกครอง. (2566). โครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากร. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.
ข่าวเศรษฐกิจออนไลน์. (2566). เรื่องผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม. https://www.ryt9.com/s/ryt9/69571.
จุฑารัตน์ ชัยบรรหาร และ ทรงพร หาญสันติ. (2561). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ Ford ประเภท Pick-up ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 229-237.
ดวงทิพย์ ปานรักษา และ สุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2567). การศึกษาการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ของแบรนด์เครื่องสำอางไทยวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าผู้หญิงกลุ่มมิลเลนเนียล. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(2), 187-202.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
ธารินี สมจรรยา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัฐกาน ทองสุข. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพน์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด]. มหาวิทยาลัยสยาม.
ปริศนีย์ ไชยชนะ. (2565). ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและอิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์แบรนด์ยูเซอรินของผู้บริโภค. [สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 11-28.
วิทยาพล ธนวิศาลขจร, ศิริกัญญา ทำมารุ่งเรือง และ ยศวีร์ ศิริวลัยชูลสิน. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(1), 18-25.
ศมิสสร สุทธิสังข์, ศิวรี อรัญนารถ และ พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). นวัตกรรมแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่าน สู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 8(1), 36-58.
ศรัญญา รักษาศรี. (2564). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าภายใต้แบรนด์ยูนิโคล่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2566-2570. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
http://www.udonthanilocal.go.th/system_files/256/d9666fa5dddc3130144d36dcd785c97a.pdf.
Aaker D. (1996). Building strong brands (1st ed). New York: The Free Press/Simon & Schuster.
Aaker, D.A.. (1999). Building Strong Brands. The Free Press.
Ajzen, I. (2006). Theory of Planned Behavior. http://people.umass.edu/aizen/tpb.html
Burke, P. J. & Reitzes, D. C.. (1991). An identity theory approach to commitment. Social Psychology Quarterly, 54,(3) , 239-251. http://ereserve.library.utah.edu/Annual/PRT/Sublime/Ruddell/iden.pdf
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Hale, J.L., Householder, B.J. & Greene, K.L. (2002). The Persuasion Handbook: Developments in Theory and Practice. Sage.
Howard, A. D. (1994). A detachment-limited model of drainage basin evolution. Water Resources Research, 30(7), 2261-2286.
Khalid, S., Mohsin, M., Sobianaseem & Sheraz Iftikhar. (2016). Impact of Brand Identification on Purchase Intention and Moderating Effect of Brand Trust. International Journal of Research in Finance and Marketing (IJRFM), 6(12), 1-12.
Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing management (14th ed.). Prentice-Hall.
Kotler, P.. (2012). Marketing Management: Defining Marketing for the 21st Century (14th ed.). Prentice Hall International, Inc.
Mao, Y., Lai, Y., Luo, Y., Liu, S., Du, Y., Zhou, J., Ma, J., Bonaiuto, F., & Bonaiuto, M.. (2020). Apple or Huawei: Understanding Flow, Brand Image, Brand Identity, Brand Personality and Purchase Intention of Smartphone. Sustainability (MDPI), 12(3391), 1-22.
Omar, A. M.. (2021). The effect of social media marketing activities on customer-brand relationship in the Egyptian cosmetic sector. Journal of Faculty of Economics and International Trade, Egyptian Chinese University, Cairo, Egypt, 3(12), https://doi.org/10.21608/jces.2021.202890.
Rovinelli, R. J. , & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion - referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49 – 60.
Roy, D.& Banerjee, S. (2014). Identification and measurement of brand identity and image gap: a quantitative approach. Journal of Product & Brand Management, 23(3), 207-219.
Temaja, G. A., & Yasa, N. N. K.. (2019). The Influence of Word of Mouth on Brand image and purchase Intention (A study on the potential customers of Kakiang Garden Cafe Ubud). International Journal of Business Management and Economic Research (IJBMER), 10(1), 1552-1560.
Yu, F., Wenhao, Q. & Jinghong, Z.. (2022). Nexus between consumer’s motivations and online purchase intentions of fashion products: A perspective of social media marketing. Sec. Organizational psychology. http://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.892135.