ประสิทธิผลของการใช้ระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) ในมุมมองของผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลระบบการใช้ระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) โดยประเมินความพึงพอใจในการใช้งานและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) ในมุมมองของผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยแบบเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารประเภทสายวิชาการและสายสนับสนุนและบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในตึกสำนักงานอธิการบดี จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิจัย เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารประเภทสายวิชาการและสายสนับสนุน และบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวนทั้งหมด 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยามีมุมมองต่อประสิทธิผลการใช้งานของระบบฯ ไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความพึงพอใจต่อการใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบฯ ควรพัฒนาระบบในด้านความปลอดภัยในการเข้าใช้งานเป็นอันดับแรก และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการใช้งานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้พัฒนาระบบ ควรปรับปรุงและเพิ่มเติมการใช้งานในด้านอื่น ๆ เช่น การคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา เพื่อนำไปวิเคราะห์แนวทางในการยื่นภาษีบุคคลเงินได้ธรรมดา ณ สิ้นปี หรือข้อมูลสรุปภาพรวมรายรับ-รายจ่ายประจำปีเพื่อนำไปวางแผนทางการเงินในแต่ละปีได้ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2552, 1 ธันวาคม). ระบบจ่ายตรงเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง (E-Payroll). https://epayroll.cgd.go.th/CGDREG/CGDWEB/index.jsp.
จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2565). การประเมินประสิทธิภาพระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 1-15.
ชนิดาพร บุญนาค และ สุรีย์ โบษกรนัฏ (2563). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 381-394.
ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2565). ประสิทธิผลของการใช้งานระบบบริหารจัดการปริญญานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 12(2), 22-35.
นลินี สุรดินทร์กูร, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และ วรเดช จันทรศร (2563). ประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพ ในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 198-210.
พลพธู ปียวรรณ และ สุภาพร เชิงเอี่ยม. (2551). ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรในงานบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository (CMRU IR). http://cmruir.cmru.ac.th/handle/1234056789/1521
Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 –610.