การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จีรนันทร์ แก่นนาคำ
สุมาลี ชัยเจริญ
สุภาภรณ์ ประสานพานิช
สุดใจ ศรีจามร
ศรีประไพ เพียนอก

บทคัดย่อ

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ประสานกันระหว่าง สื่อจักรวาลนฤมิต กับวิธีการ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มาเป็นฐานในการออกแบบ เป็นการสร้างพลเมืองแห่งอนาคตระดับประถมศึกษาให้มีการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะการคิดที่สำคัญด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของศตวรรษที่ 21 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 41 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นก่อนการทดลอง      (Pre-experimental Design) แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิตตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ และแบบสัมภาษณ์การคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการวัดการคิดสร้างสรรค์ ใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการสัมภาษณ์การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล


ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนการคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยในภาพรวม 14.05 คิดเป็นร้อยละ 90.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และพบว่า ผลการคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากการวิเคราะห์โปรโตรคอล  ประกอบด้วย 1) การคิดคล่อง สร้างความคิดจำนวนมากภายในเวลาอันจำกัด 2) การคิดยืดหยุ่นคิดหลากหลายมุมมองเพื่อทดแทนแนวคิดเดิม 3) การคิดริเริ่ม สร้างความคิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และ 4) การคิดละเอียดลออ คิดในรายละเอียดให้เห็นภาพอย่างสมบูรณ์ชัดเจนมากขึ้น

Article Details

How to Cite
แก่นนาคำ จ., ชัยเจริญ ส., ประสานพานิช ส., ศรีจามร ส. ., & เพียนอก ศ. . (2025). การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 213–228. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275814
บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ โคจร. (2563). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(1), 67-84.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ชฏารัตน์ เฮงษฎีกุล. (2566). ความคิดสร้างสรรค์: เกิดขึ้นเองหรือพัฒนาได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 122-130.

ผ่องอำไพ ธรรมอริยสกุล, วิชัย นภาพงศ์, จิระวัฒน์ ตันสกุล, และชไมพร อินทร์แก้ว. (2566). การสังเคราะห์รูปแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเสมือนร่วมกับกระบวนการออกแบบ วิศวกรรมที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน. Journal of Information and Learning, 34(2), (1-15).

ลัดดา อะยะวงศ์. (2543). หลักการวิจัยเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567, 17 กรกฎาคม). ผลการประเมินด้านความคิดสร้างสรรค์ของ PISA 2022. https://pisathailand.ipst.ac.th/news-22/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565, 1 พฤศจิกายน) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF

สุมาลี ชัยเจริญ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพคลังนานาวิทยา.

อิราวรรส พูนผล และสุมาลี ชัยเจริญ. (2564). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Learning) ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(4), 151-168.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill.

Klausmeier, H j. (1985). Education Psychology. (5yhed). Harper & Row.

Muthmainnah, Al Yakin, A. & Ibna Seraj, P.M. (2023). Impact of metaverse technology on student engagement and academic performance: The mediating role of learning motivation. International Journal of Computations, Information and Manufacturing (IJCIM), 3(1), pp. 10–18. doi:10.54489/ijcim.v3i1.234

Sharma, C., Agarwai, B., Wuttisittikulkij, L., Joshi, D., Bhatnagar, A., & Chaudhary, S. (2024). Interactive learning through the metaverse and its impact on primary education. 2024 21st International Conference on Electrical Engineering/Electronics,Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON), Khon Kaen, Thailand, 1–8. https://doi.org/10.1109/ECTI-CON60892.2024.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Harvard University Press.

Xu, W., Zhang, N. & Wang, M. (2024). The impact of interaction on continuous use in online learning platforms: a metaverse perspective. Internet Research, 34(1), pp. 79-106. https://doi.org/10.1108/INTR-08-2022-0600

Zhang, L. et al. (2024). Online learning with metaverse for history education at Primary School Education Level. International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development, 13(2). doi:10.6007/ijarped/v13-i2/21502