ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ศุภิกา ประเสริฐพร
ลักขโณ ยอดแคล้ว
มาลีรัตน์ สาผิว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานของการประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายต้นไม้อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน  67 ราย ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test แบบ One-sample t-test ทำการทดสอบความมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) การประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ มีระดับการดำเนินงานในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานประกอบการ ด้านการดำเนินงาน และด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย  ที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ พบว่า มีปัจจัย ที่สำคัญจำนวน 10 ปัจจัยจากทั้งหมด 48 ปัจจัย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าทุกปัจจัยล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล ฝ่ายเพชร และ อารีย์ นัยพินิจ. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านถึงสองล้านบาท) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(3), 237-246.

ผู้จัดการออนไลน์. (2567, 11 กันยายน). พัฒนาและยกระดับ “กล้วยไม้&ไม้ดอกไม้ประดับ” สู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูงในอนาคต. https://mgronline.com/smes/detail/9670000084392

วรดา เดชเกรียงไกร และ นิสิต มโนตั้งวรพันธ์. (2567). ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เพื่อการส่งออกในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 38(2), 142-165.

อนุกูล โกมลอุปถัมภ์, ปาริชาติ ธีระวิทย์, และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการ ธุรกิจผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 252-270.

อลงกต สารกาล, พุทธิพร พลอยผักแว่น, และ บารมี วรรณพงศ์เจริญ. (2565). การประยุกต์ใช้ 4M ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(3), 34-62.