แนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาไทยในยุคศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิต และการทำงานในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียนและสภาพสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทาง SMCROF ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฎีการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) มีองค์ประกอบหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) ผู้สอน (Sender) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 2) เนื้อหาความรู้ (Message) เป็นข้อมูลหรือความรู้ 3) ช่องทางการรับรู้/สื่อ (Channel) เป็นวิธีการหรือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน 4) ผู้เรียน(Receiver) เป็นผู้รับความรู้ 5) ผลที่เกิดขึ้น (Output) เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการเรียนรู้ และ 6) การสื่อสารกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลย้อนกลับตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ดังนั้น การประยุกต์ใช้แนวทาง SMCROF และการนำหลักการวงจรคุณภาพ (PDCA Cycle) มาประเมินกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขนิษฐา จิตแสง. (2021). การสื่อสารระหว่างบุคคลในบริบทการศึกษา. Journal of Information Science มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(3) , 91-107.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
พิทยา แหลมคม และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2567). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(3), 139-151.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564, 20 ตุลาคม). ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand มิติที่ 3 การศึกษาไทย. https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2023/11/2021_08
เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์และภีศเดช เพชรน้อย. (2564, 20 ตุลาคม). ออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างไรให้เหมาะกับผู้เรียน. https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/1637488774552
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จิตตฤกษ์. (2554, 21 ตุลาคม). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/
วรางคณา ทองนพคุณ. (2556, 21 ตุลาคม). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st CeturySkills: The Challenges Ahead. http://www.education.pkur.ac.th
ศิริพร อนุสภา, สุวิทย์ สลามเต๊ะ และ สราวุธ และซัน. (2565). เยาวชนไทยกับการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ, 19, 209-228.
ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด- 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48-55.
ไอรดา พัตรภักดิ์ และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2567) ความต้องการจําเป็นภาวะผู้นําทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารวิจัยและวิชาการ มหาหวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(2), 290-301.
Pierre Yohanes Lubis, University of Canterbury, New Zealand
Bahareh Shahri, University of Canterbury, New Zealand
Lubis, P.Y. and Shahr, B. (2022, 21 October). Human-Centered Design as a Qualitative Research Methodology in the Area of Public Health. https://www.researchgate.net/publication/363643039_Human-Centered_Design_as_a_Qualitative_Research_Methodology_in_the_Area_of_Public_Health#pf5,