การพัฒนาบอร์ดชิพสมองกลฝังตัวเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จารุกิตติ์ สายสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาบอร์ดชิพสมองกลฝังตัวสำหรับการเรียนรู้และประยุกต์ใช้งาน 2)หาประสิทธิภาพบอร์ดชุดฝึกสำหรับการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 3)ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรได้แก่นักศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเจาะจงกลุ่มนักศึกษาที่เรียนรายวิชาเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์และการออกแบบโปรแกรมการสอนผ่านเว็บ เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดฝึกบอร์ดชิพสมองกล ฝังตัว ตำรา เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ คุณภาพแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า บอร์ดชิพสมองกลฝังตัวมีประสิทธิภาพด้านคุณสมบัติโดยผ่านการวัดสอบเทียบได้ตามเกณฑ์กำหนด ผลการทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 24.64 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 75.20 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีต่อชุดฝึกสมองกลฝังตัวเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่ง ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกสมองกลฝังตัว เพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้งาน มีค่า equation= 4.40 และค่า S.D. = 0.50 ซึ่งอยู่ในช่วงของระดับพอใจมาก

Article Details

How to Cite
สายสิงห์ จ. . (2025). การพัฒนาบอร์ดชิพสมองกลฝังตัวเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 372–382. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277418
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วัฒายุ . (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กิติศักดิ์ แสนประสิทธิ์. (2557). การทดลองและการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ PIC18F4550 ด้วยภาษาซี (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรณ์ศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

พิเชษฐ์ ศรีสังข์งาม และ ชัยยศ เดชสุระ. (2556). รายงานการวิจัย การพัฒนาเนื้อหาระบบฝังตัว สำหรับ การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล.(2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 34-53.

สุพิชฌาย์ ศรีโคตร. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม