การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรของธุรกิจนำเที่ยว ตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพ สำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานของสายวิชาชีพการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียนแต่ปัญหาหนึ่งที่พบในสายวิชาชีพการท่องเที่ยวของประเทศไทยคือ บุคลากรในสายงานนี้จะถูกกำหนดสมรรถนะตำแหน่งงานงานแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์กรธุรกิจ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรธุรกิจนำเที่ยวภายใต้กรอบมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน การดำเนินงานวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร 2) การทดลองใช้หลักสูตรกับบุคลากรปฏิบัติงานธุรกิจนำเที่ยว โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน 3) การประเมินผลใช้คะแนนการอบรมแบบกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อน (Pre-test) และหลัง (Post-test) การอบรม ผลการประเมินของผู้เข้าร่วมอบรมจะเป็นข้อมูลทางสถิตินำมาวิเคราะห์เป็น ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในแบบตารางคู่กับการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตรอาจมีการปรับรายละเอียดของเนื้อหาในหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มสายงานปฏิบัติการโดยยังคงสาระหลักตามข้อกำหนดสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนไว้ 2) โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาสามารถนำไปใช้ให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับบุคลากรธุรกิจการท่องเที่ยวได้ ด้วยงานวิจัยนี้พบว่าก่อนผู้เข้าฝึกอบรมมีคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมแตกต่างกัน คือ ก่อนฝึกอบรมคะแนนรวม 42.13 หลังฝึกอบรมคะแนนรวม 57.93 คะแนน พร้อมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน มีบางตัวชี้วัดไม่ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์บางอย่างได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Institution of Tourism Professionals Development, Ministry of Tourism and Sports. (2013). ASEAN MRA on tourism professionals handbook 4th. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. (in Thai)
3. Junthasila, A., Chamnankit, P. & Jomhongbhibhat, B. (2013). Development of a training course curriculum for enhancing the brain-based instructional management competencies in order to Invent the language ability of students for elementary school teachers. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 31-45. (in Thai)
4. Kunnaworapanya, A. & Chotanachote, K. (2014). The assessment of social research training course evaluation. Journal of Professional Routine to Research, (1)1. Mahidol University. Retrieved on November 3rd, 2017 from: http://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14456/jpr2r.2014.8. (in Thai)
5. Lortrakul, A. (2014). Competency development of state university staff. Doctoral Thesis in Public Administration, Mahachulalonkornrajavidyalaya University. (in Thai)
6. Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York.
7. Utranan, S. (1994). Curriculum development and fundamentals. Bangkok: Wongduan Printing. (in Thai)
8. Voratitipong, P. (2009). The development of curriculum on sustainable tourism management for the community. Doctoral Thesis in Curriculum and Development Program. Faculty of Industrial Education and Technology. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai)
9. Wachang-ngern, P. (2004). Organizational behavior (2nd ed.). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok: Ruamsarn Publisher. (in Thai)