การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา: จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

นพมาศ กลัดแก้ว
ศุจิรัตน์ ประกอบกิจ

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่องการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา:จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวมุสลิม 2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมก่อนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวมุสลิม 4) เพื่อศึกษาความภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม 5) เพื่อสำรวจศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิมและในการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน 6) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด จากนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวและบริการแก่นักท่องเที่ยวมุสลิม จำนวน 10 คน


                 จากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณนักท่องเที่ยวมุสลิมในกลุ่มประชาคมอาเซียน พบว่า นักท่องเที่ยวมุสลิม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,001-3,000 US$  ส่วนใหญ่เดินทางมาครั้งแรก ระยะเวลาในการท่องเที่ยวน้อยกว่า 7 วัน ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่า 5,000$ วัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน ในรูปแบบการเดินทางและร่วมการเดินทางมากับครอบครัว/ญาติพี่น้อง โดยมีที่พักประเภทโรงแรมเป็นไปตามมาตรฐานสากล และเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว (ช่วงเดือนตุลาคม–มกราคม) และไม่เพิ่มระยะเวลาในการท่องเที่ยว ส่วนด้านการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจากสื่อต่างๆและด้านสิ่งที่ดึงดูดใจให้ท่านท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยรวมอยู่ในระดับมาก


              จากการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการรับรู้ต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม วิเคราะห์ผล พบว่า ระดับการรับรู้ด้านอาหารฮาลาล และเครื่องดื่มฮาลาล  ด้านสร้างสรรค์โรงแรม/ที่พัก เน้นการปฏิบัติเชิงศาสนาอิสลามสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม ด้านบริษัทท่องเที่ยว/ทัวร์ ด้านความสร้างสรรค์แหล่งท่องเที่ยวมุสลิมที่สามารถปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ด้านโปรแกรมการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตมุสลิม ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสินค้าทางการท่องเที่ยวและบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการตลาดที่มุ่งเป้าหมายที่มุสลิมอยู่ในระดับมาก  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการยอมรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า นักท่องเที่ยวมุสลิมมีการยอมรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก ข้อมูลด้านความพึงพอใจโดยรวมต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวมุสลิม พบว่า นักท่องเที่ยวมุสลิมมีความ พึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ข้อมูลด้านความภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านแนวโน้มการบอกต่อของนักท่องเที่ยวมุสลิม อยู่ในระดับมาก และข้อมูลด้านความภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้านแนวโน้มพฤติกรรมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด


                 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมในจังหวัดภูเก็ต มีแหล่งท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่นมีความโดดเด่นของศิลปวัฒนธรรม ความเป็นธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์แตกต่างกันไป แต่อุปสรรคที่พบคือการเดินทางโดยรถสาธารณะมายังแหล่งท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่นยังไม่สามารถเดินทางเข้าถึง ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขให้มีความเพียงพอเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมีการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชนและมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยว ลงมือปฏิบัติกับชุมชน เรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างแท้จริง และต้องมีการพัฒนา ส่งเสริม ผู้ประกอบการและชุมชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. สืบค้นจาก www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf.
กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560) TAT Review: Global Muslim Travel 2017
ภาพรวมตลาดการท่องเที่ยวมุสลิม. 3/2560 กรกฏาคม-กันยายน.
กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี. (2560). ไทยมีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว 'ฮาลาล'. Biz Feed. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฏาคม 2560. https://voicetv.co.th/watch/508687
กรมการท่องเที่ยว, (2558). สถิตินักท่องเที่ยว สืบค้นจาก.http://www.tourism.go.th
จิราวดี รัตนไพฑูรยชัย. (2556 ). ตลาดท่องเที่ยวมุสลิม โอกาสของไทยภายใต้ AEC.กรุงเทพธุรกิจ.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร : ส.เอเซียเพรส
ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. (2555). การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธเนศ ศรีสถิตย์. (2554). การจัดการธุรกิจแหล่งท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ปิติ ศรีแสงนาม. (2555). ศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.thai-aec.com/802#ixzz3QIWHRaNP
ศราวุฒิ อารีย์. (2558) .การท่องเที่ยววิถีอิสลาม: โอกาสของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.วารสารมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปีที่ : 10 ฉบับที่ : 18 หน้า : 1-17
ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2555).พฤติกรรมนักท่องเที่ยว.กรุงเทพ: คลังนานาวิทยา
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556).การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). อาหารมุสลิม กับ อาหารฮาลาล. http://www.halinst.psu.ac.th/th/knowledge-th/halalarticle-th/467-2015-02-12-02-42-07.html
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2558). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบจาก http://www.dasta.or.th

Book
Battour, M. M., Battor, M. M., & Ismail, M. (2012). The mediating role of tourist
satisfaction: A study of Muslim tourists in Malaysia. Journal of Travel & Tourism
Marketing, 29(3), 279-297.
Dugan, B. (1994). Religion and food service. Cornell Hotel and Restaurant Administration
Quarterly, 35(6), 80-85.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text, 2nd ed., Australia: Hodder Education.
Ghadami, M. (2012). The role of Islam in the tourism industry. Management Arts,
52(11204), e11209.
Henderson, J.C. (2010). Sharia-Compliant Hotels. Tourism and Hospitality Research, 10(3), 246-254
Huang, S. S. & Hsu, C. H. (2009). Effects of travel motivation, past experience, perceived
constraint, and attitude on revisit intention. Journal of Travel Research.
Moufakkir,O. and Kelly,Y.(eds.).(2010). Tourism, progress and peace. Cabi.
Mohammad, B.A.M.A.&Som. A.P. (2010). An analysis of push and pull travel motivation of foreign tourist to Jordan. International Journal of Business and Management, 5(12),41-50
Mohsin, A. (2005). Tourist attitudes and destination marketing—the case of Australia's
Northern Territory and Malaysia. Tourism Management, 26(5), 723-732.
Mohsin, A., & Ryan, C. (1997). Business visitors to the northern territory expo. Tourism
Recreation Research, 22(2), 67-69.
Namin, A.A. Tajzadeh. (2013). “Value Creation in Tourism: An Islamic Approach.” International Research Journal of Applied and Basic Sciences 4 : pp.1252-1264.
Ozdemir, I., & Met, O. (2012). The expectations of Muslim religious customers in the lodging industry: The case of Turkey. In A. Zainal, S. Radzi, R. Hashim, C. Chik & R. Abu (Eds.), Current Issues in Hospitality and Tourism Research and Innovation (323- 328). London.
Prayag, G. and Ryan, C. (2011) The relationship between the push & pull attributes of a tourist destination: the role of nationality. An analytical qualitative research approach. Current Issues in Tourism 14(2): 121-143.
Rahman, M. K. (2014). Motivating factors of Islamic tourist’s destination loyalty: an
empirical investigation in Malaysia. Journal of Tourism and Hospitality
Management, 2(1), 63-77.
Rasma, A. A. (2008). Tourism… Islam put it controls and corrected the distorted
concepts. al-forqan, V (493)[Online]. Retrieved July 413, 2008.
Shakona, M., Backman, K., Backman, S., Norman, W., Luo, Y., & Duffy, L. (2015).
Understanding the traveling behavior of Muslims in the United States.
International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 9(1), 22-35.
Weidenfeld, A. (2006). Religious needs in the hospitality industry. Tourism and
Hospitality research, 6(2), 143-159.
Weidenfeld, A. D. I., & Ron, A. S. (2008). Religious needs in the tourism industry. Anatolia,
19(2), 357-361.
Zulkharnain, A., & Jamal, S. A. (2012). Muslim guest perception of value towards Syariah concept hotel. In A. Zainal, S. Radzi, R. Hashim, C. Chik & R. Abu (Eds.), Current Issues in Hospitality and Tourism (337-340). Leiden: CRC Press.
Žabkar, V., Brenčič, M. M., & Dmitrović, T. (2010). Modelling perceived quality, visitor
satisfaction and behavioural intentions at the destination level. Tourism
management, 31(4), 537-546.
Zamani-Farahani, H. & Henderson, J. C. 2010. "Islamic tourism and managing tourism
development in Islamic societies: The cases of Iran and Saudi Arabia",
International Journal Tourism Research. 12, 79-89.